สื่อชายแดนใต้ ไม่เห็นด้วยกับ ศอ.บต. ในการ”ดันทุรัง” เลือกตัวแทนสื่อ ในทำหน้าที่ใน สภาที่ปรึกษา โดยมีสื่อ ลงทะเบียนเพียง 26 คน จาก 300 กว่าคน
![สื่อชายแดนใต้ ไม่เห็นด้วยกับ ศอ.บต. ในการ”ดันทุรัง” เลือกตัวแทนสื่อ ในทำหน้าที่ใน สภาที่ปรึกษา โดยมีสื่อ ลงทะเบียนเพียง 26 คน จาก 300 กว่าคน](https://www.khaothaitoday.com/wp-content/uploads/2025/02/sbpac_history.jpg)
สื่อชายแดนใต้ ไม่เห็นด้วยกับ ศอ.บต. ในการ”ดันทุรัง” เลือกตัวแทนสื่อ ในทำหน้าที่ใน สภาที่ปรึกษา โดยมีสื่อ ลงทะเบียนเพียง 26 คน จาก 300 กว่าคน
![](https://www.khaothaitoday.com/wp-content/uploads/2025/02/sbpac_history.jpg)
ล่าสุด ผู้สมัครถอนตัวแล้ว 1 คน เพราะเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม และขาดการมีส่วนร่วมของสื่อในชายแดนใต้
กรณีที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ 1 คน โดยคัดเลือกด้วยการลงคะแนนกันเองจากผู้มีอาชีพ สื่อมวลชน จำนวน 1 คน เพื่อทำหน้าที่เป็น ตวแทน สื่อมวลชน ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ปรากข้อเท็จจริงว่า สื่อมวลชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องการรับสมัคร และการเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อในครั้งนี้ โดยมีผู้ที่ลงลงชื่อเพียง 26 คน จากจำนวนผู้สื่อข่าว ที่ทำหน้าที่ สื่อมวลชน ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนกว่า 300 คน และใน 26 คน ที่ไปลงทะเบียนเป็นการ “จัดตั้ง” และมี 4 คน ที่ เสนอตัวเป็น ผู้สมัคร เป็น ตัวแทนสื่อ เพื่อให้มีการ ลงคะแนนจากผู้ที่ไปลงชื่อซึ่งจะมีเพียง 22 คน การดำเนินการของ ศอ.บต. ถูก วิพากษ์ วิจารณ์ จาก” สื่อมวลชน ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงความไม่เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการให้มีตัวแทนจาก สื่อมวลชน จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้เลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ใน สภาที่ปรึกษา การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตาม พรบ. ศอ.บต. ซึ่ง ศอ.บต. ได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อมวลชน ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่จะจะถึง โดยไม่ฟังเสียงที่ไม่เห็นด้วยของ สื่อมวลชน ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอ้างว่าทำถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
![](https://www.khaothaitoday.com/wp-content/uploads/2025/02/577122.jpg)
ล่าสุด นายปิยะโชติ อินทรนิวาส อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 ของผู้ที่สมัครเพื่อ เลือกตั้งเป็น ตัวแทนสื่อมวลชน ได้ส่งหนังสือขอ ถอนตัว จากการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นตัวแทนสื่อมวลชนในครั้งนี้ ต่อ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) เพราะเห็นว่า จำนวน สื่อมวลชน ที่มาลงชื่อเพื่อเป็นผู้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครครั้งนี้เป็น สื่อส่วนน้อย ที่ไม่ครอบคลุมสื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ได้รับเลือก ไม่เหมาะสมที่จะอ้างว่าเป็นตัวแทนของ สื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบะไม่น่าจะมีความเป็นธรรมในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงลายืนใบลาออกจากการเป็นผู้สมัคร เพื่อให้มีการเลือกให้เป็นตัวแทนของสื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในขณะที่ ตัวแทนของ สื่อจังหวัดสตูล นายปรีชา หนูศิริ กล่าวว่า สื่อใน จ.สตูลไม่มีใครทราบข่าว และไม่มีใครไปลงชื่อเพื่อทำการคัดเลือกตัวแทนสื่อในครั้งนี้ เช่นเดียวกับนายปาเรซ โลหะสันห์ สื่ออาวุโสของ จ.ปัตตานี ก็ไม่เคยทราบว่า มีการเลือกตัวแทนสื่อเพื่อไปทำหน้าที่ในสภาที่ปรึกษา และ สื่อใน จ.นราธิวาส ทุกคนก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีมีส่วนในการเป็นผู้สมัคร และเป็นผู้ลงคะแนนเพื่อเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อ ที่ ศอ.บต. จัดขึ้นในครั้งนี้ ดังนั้นผู้ที่ผ่านการเลือกตั้ง จาก สื่อมวลชนเพียง 22 คน จากสื่อมวลชนที่มีอยู่ 300 กว่าคน ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงไม่เหมาะสมที่จะเป็น ตัวแทนของสื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะสื่อมวลชนส่วนมาก 90 % ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้
ผู้สื่อข่าว ได้สอบถามนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา จากกลุ่ม 18 กลุ่ม สื่อมวลชน และ วรรณกรรม ซึ่งเป็นอดีต ตัวแทนสื่อมวลชนที่ถูกเลือกไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนสื่อในสภาที่ปรึกษา ทั้ง 2 สมัย และเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาของศอ.บต. หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจของ คสช. ให้ หยุดการใช้ พรบ.ศอ.บต. ที่เกี่ยวกับ การทำหน้าที่ สภาที่ปรึกษาฯ ว่า มีความเห็นอย่างไร กับการที่ ศอ.บต. จะให้คนจำนวน 22 คน เลือกตั้งตัวแทนสื่อมวลชนเพื่อไปทำหน้าที่ ใน สภาที่ปรึกษาฯ ในครั้งนี้
ซึ่ง นายไชยยงค์ กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อมวลชนใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประกอบด้วย สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส เพื่อไปทำหน้าที่ ตัวแทนสื่อใน สภาที่ปรึกษาฯ นั้น ที่ผ่านมา ศอ.บต. ดำเนินการโดยให้ สื่อมวลชน ของจังหวัดนั้นๆ ไป ลงทะเบียนในจังหวัดที่ สื่อมวลชน ทำหน้าที่สื่อมวลชนอยู่ เช่น สื่อ ใน จ.สงขลา ก็ไปลงทะเบียนที่ ประชาสัมพันธ์ จ.สงขลา สื่อ จ.สตูล ก็ไปลงทะเบียนที่ จ.สตูล สื่อ จ.นราธิวาส ก็ไปลงทะเบียนที่ จ.นราธิวาส สื่อ ปัตตานี ก็ไปลงทะเบียนที่ จ.ปัตตานี สื่อ จ.ยะลา ก็ไปลงทะเบียนที่ จ.ยะลา ยกเว้นผู้ที่แสดงความจำนงในการสมัครเป็นตัวแทนสื่อมวลชนเพื่อการเป็นตัวแทนสื่อมวลชน ที่ต้องไปลงทะเบียนที่ ศอ.บต. วิธีการอย่างนี้ จึงเป็นวิธีการที่ถูกต้อง และเป็นธรรม เป็นการทำให้ สื่อทุกๆ จังหวัดมีสิทธิในการ ลงคะแนน ในการเลือกตัวแทนของตนเอง โดยในวันเลือกตั้ง ศอ.บต. จะส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการเลือกตั้งใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งผลคะแนนไปรวมที่ ศอ.บต. เพื่อประกาศว่าใครได้เป็นผู้แทน สื่อมวลชน เพื่อไปทำหน้าที่ใน สภาที่ปรึกษาฯ
แต่ในการ เลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ไม่ทราบว่าทำไมจึงมีการแก้ไข กฎระเบียนการเลือกตั้งที่ดีอยู่แล้ว ให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะโดยข้อเท็จจริง เป็นไปได้ยากที่ สื่อจาก 5 จังหวัด จะเดินทางไปลงชื่อเพื่อใช้สิทธิ์ แล้วต้องเดินทางไปลงคะแนนที่ ศอ.บต. ซึ่งต้องเดินทางถึง 2 ครั้ง เรื่องนี้เป็นความ ผิดพลาดของ ศอ.บต. ที่ไปแก้ กฎระเบียบ และขาดความรอบคอบ รวมทั้งในอดีต จะมีการเชิญองค์กร สื่อ ในพื้นที่ไป ประชุมหารือ ถึงวิธีการดำเนินการในการ เลือกตัวแทนสื่อมวลชน แต่ในครั้งนี้ไม่มี และอ้างว่ามีการส่งข่าวให้ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้กับสื่อใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ทราบแล้ว แต่ปรากฏว่า สื่อกว่า 90% ไม่ได้ทราบข่าวของการเลือกตั้งตัวแทนสื่อในครั้งนี้
ดังนั้น ถ้า ศอ.บต. ยังยืนยันว่าจะให้มีการเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อ ในวันที่ 16 ก็คงดำเนินการได้ เพราะ ศอ.บต.เป็นผู้แก้ กฎระเบียบให้มีการเลือกตั้งที่ ศอ.บต. แต่ก็ต้องถามความชอบธรรมว่าการที่ สื่อ จาก 4 จังหวัด ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง มีเพียง สื่อ ใน จ.ยะลา จำนวน 22 คน เป็นลงคะแนน จะเรียกผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งว่าเป็น ตัวแทนของสื่อมวลชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้หรือไม่ และผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้ง จะอ้างว่าเป็นตัวแทนของสื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้หรือไม่
สมัยที่ผมได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง มีผู้ไปลงทะเบียนในทุกจังหวัด ที่ จ.สงขลามี สื่อมวลชนไปลงทะเบียนกว่า 100 คน ทั้งสื่อรัฐ และสื่อเอกชน จังหวัดยะลามีสื่อไปลงทะเบียนเกือบ 100 คน ใน ทจ.สตูลกว่า 50 คนท และ ใน จ.นราธิวาส และ ปัตตานี ก็มีผู้ไปลงทะเบียน จำนวนหนึ่ง และมีการไป เลือกตั้ง ซึ่งผมได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 จาก ผู้สมัครด้วยกัน ดังนั้น ผู้บริหารของ ศอ.บต. ต้องดูว่าการเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อมวลชน เพื่อไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนใน สภาที่ปรึกษาฯ ครั้งนี้ เหมาะสม หรือไม่ และที่สำคัญ ศอ.บต. เห็นความสำคัญของ สื่อมวลชน หรือไม่ หากท่านคิดว่า ถูกต้อง เหมาะสม สื่อมวลชน ไม่มีความสำคัญ ท่านก็ดำเนินการของท่านไป เพราะ สื่อไม่มีอำนาจอะไรที่จะไปเปลี่ยนแปลงให้มีการแก้ไขให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม และ อยากเห็น สื่อมวลชน ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกมาแสดงความคิดเห็น ในเรื่องที่เกิดขึ้น นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา กลุ่ม สื่อมวลชน กล่าวท้ายสุด
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา