(สุรินทร์) จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายรณรงค์ส่งเสริมการลด ละ เลิกบุหรี่ ปี 2567

(สุรินทร์) จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายรณรงค์ส่งเสริมการลด ละ เลิกบุหรี่ ปี 2567

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ที่ ห้องประชุมลุมพินีแกรนด์สวนป่ารีสอร์ท จังหวัดสุรินทร์ นายแพทย์ ชวมัย สืบณุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นประธานเปิด โครงการพัฒนาเครือข่ายรณรงค์ส่งเสริมการลด ละ เลิกบุหรี่ ปี 2567 โดยมี นายแพทย์ สมชัย อัศวรัศมี ประธานคณะทำงานคลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวรายงาน มี ศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ หัวหน้ากลุ่มงาน สุขศึกษา คณะกรรมการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ และผู้ร่วมงานทุกท่าน นายแพทย์สมชัย อัศวรัศมี ประธานคณะทำงานคลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลสุรินทร์ ในนามของคณะผู้จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายรณรงค์ส่งเสริมการลด ละ เลิก บุหรี่ ปี 2567 กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและโรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Disease : NCD)

เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม แม้การรณรงค์ลดการใช้ยาสูบสามารถทำได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง แต่การเกิดขึ้น ของบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นิโคตินชนิดอื่น ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อเยาวชน และการควบคุมยาสูบ และรายงานล่าสุดของ STOP ซึ่งเป็นองค์การวอตช์ด็อกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยาสูบ แสดงให้เห็นว่าเด็กอายุ 13-15 ปีทั่วโลกประมาณ 37 ล้านคนใช้ ยาสูบ และอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นยังสูงกว่าผู้ใหญ่ ในหลายประเทศการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากกลยุทธ์บริษัทบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ารวมถึงเครือข่ายผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชน และที่น่าเป็นห่วงคือ แนวโน้มการสูบบุหรี่กลับสูงขึ้นในกลุ่มเยาวชนและสตรี ทั้งนี้ เนื่องจาก บริษัทบุหรี่ได้พัฒนาเทคนิคการตลาด

รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อหาลูกค้ารายใหม่ จำนวนอย่างน้อย 100,000 คนในแต่ละปี ทดแทนผู้สูบบุหรี่ที่เลิกสูบหรือเสียชีวิตไปข้อมูลของ WHO ชี้ว่า นิโคตินในบุหรี่นั้นมีผลต่อสมองของวัยรุ่น อันตรายต่อพัฒนาการของสมองไปจนถึงอายุ 25 ปี ทำให้พร้อมที่จะรับและติดสิ่งเสพติดชนิดอื่นเช่น แอลกอฮอล์ เฮโรอีน โคเคน กัญชา เพิ่มขึ้นหลายเท่า นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนที่ สูบบุหรี่ไฟฟ้า ยังมีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ธรรมดามากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบ 2-4 เท่า(Gateway Effect) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงต้องมีการรณรงค์กันอย่างจริงจังก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งในปี 2567 ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ คือ บุหรี่ไฟฟ้า : หยุดโกหกได้แล้ว หรือ Stop the lies เป้าหมายเพื่อร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า

ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้า กำลังระบาดหนักมากในหมู่เด็กและเยาวชนไทย ทั้งที่เป็นสินค้าผิดกฎหมายห้ามนำเข้าประเทศ โรงพยาบาลสุรินทร์จึงได้จัดให้มีระบบบริการเลิกบุหรี่แบบครบวงจร ช่วยผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ทุกสิทธิประโยชน์ได้เข้าถึงบริการและรับคำปรึกษา โดยร่วมกับศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ 1600 Quitline หรือ สายด่วนเลิกบุหรี่ เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ให้มากยิ่งขึ้น และเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้กับแกนนำเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ นายแพทย์ ชวมัย สืบณุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวว่า การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นการเน้นย้ำถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาสูบ โดยเฉพาะสำหรับเยาวชน ตลอดจนเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของนโยบายที่มีประสิทธิผลในการลดการบริโภคยาสูบ ซึ่งสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าที่ทะลักเข้าสู่ประเทศไทยกำลังเป็นปัญหาใหญ่

ข้อมูลจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ระบุว่า การแก้ปัญหาสุขภาพจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ต้องให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องใน 2 เรื่อง คือ การช่วยเหลือผู้ที่ติดบุหรี่อยู่แล้วให้เลิก และการรณรงค์ป้องกันไม่ให้เยาวชนไปเสพติดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า โดยคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 2567 คือ ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้าการประสานความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษากับโรงพยาบาลและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า จะเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนงานและดำเนินการในทุกด้านไปพร้อมกัน ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการเลิกบุหรี่ การสร้างเครือข่ายรณรงค์ส่งเสริมการลด ละ เลิกบุหรี่ ที่เข้มแข็ง จะช่วยผลักดันให้เกิดการเลิกบุหรี่ และการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่อย่างเข้มแข็งและมีความต่อเนื่อง ในโอกาสนี้จึงขอเชิญชวนผู้สูบบุหรี่หรือมีคนในครอบครัวที่สูบบุหรี่ เริ่มต้นการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

 

โดยเชิญชวนคนรอบข้างที่สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ เพราะบุหรี่นอกจากจะทำลายสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างแล้ว ยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย และการควบคุมยาสูบยังคงต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเป็นแบบอย่างที่ดีระดับครอบครัว ควรร่วมกันทำบ้านให้ปลอดบุหรี่ หากยังมีสมาชิกในครอบครัวที่เลิกบุหรี่ไม่ได้ ก็ช่วยกันให้กำลังใจให้เลิกได้สำเร็จ ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน และไม่สูบบุหรี่ให้เด็กเห็นโรงเรียน สร้างความตระหนักให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงโทษพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ตลอดจนร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าชุมชน สังคม ทุกคนในสังคม ควรมีส่วนรวมในการสร้างสังคมปลอดบุหรี่ และขอขอบคุณสื่อมวลชน ที่ร่วมเผยแพร่ เพื่อให้สังคมตระหนักว่าบุหรี่เป็นสินค้าที่ไม่ปกติและบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย เป็นยาเสพติดที่ฆ่าผู้บริโภค ส่งเสริมค่านิยมไม่สูบบุหรี่และร่วมกันสนับสนุนมาตรการควบคุมยาสูบของรัฐบาล ขอขอบคุณเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ในครั้งนี้

ปุรุศักดิ์ แสนกล้า ข่าว/ภาพ