“อลงกรณ์”ขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรม(Innovation Economy)ผนึกนักบริหารทุกภาคส่วนจัดตั้งสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand) ส่งเสริม12อุตสาหกรรมใหม่หวังอัพเกรดประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูง

“อลงกรณ์”ขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรม(Innovation Economy)ผนึกนักบริหารทุกภาคส่วนจัดตั้งสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand) ส่งเสริม12อุตสาหกรรมใหม่หวังอัพเกรดประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูง

 

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิล์ดวิว ไครเมทและอดีตประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเปิดเผยวันนี้ว่า สืบเนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่า2%ติดต่อกันหลายปีทำให้ติดกับประเทศรายได้ปานกลางขณะที่การส่งออกอ่อนแรงลงมากสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกลดลงและการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยมีเพียง 1.1 % ของจีดีพี.ประกอบกับประเทศไทยต้องเผชิญกับโอกาสและความท้าทายจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภาวะโลกร้อน โรคระบาด ความมั่นคงทางอาหาร สังคมสูงวัย ดิจิตอลดิสรัปชั่น และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนจึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรม(Innovation Economy)บนฐานความรู้และการวิจัย ตนจึงได้ผนึกความร่วมมือกับนักบริหารทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยจัดตั้งสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์(FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation)ในรูปของธุรกิจเพื่อสังคม100%(Social Enterprise)เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมนวัตกรรมและองค์ความรู้รวมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้งานวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (First S-curve)และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve)โดยเฟสแรกจะเน้นการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านเกษตร อาหาร สิ่งแวดล้อม เอไอ.เทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิตอลในกลุ่มเศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) เศรษฐกิจคาร์บอน (Carbon Economy)และ เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)
ทั้งนี้จะมีการเปิดตัวFKII Thailand ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้ เวลา 9.00-12.00 น.ที่สวนเสียงไผ่ ทาวน์อินทาวน์
สำหรับนักบริหารและนักวิจัยภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์เช่น อดีตรัฐมนตรี อลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิล์ดวิว ไครเมทและอดีตประธานกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม นพ.บุญเทียม เขมาภิรัตน์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ อดีตผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)และผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ

ที่ปรึกษาและอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร นายประพันธ์ บุณยเกียรติ อดีตประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย
ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีนและอดีตอัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงปักกิ่ง นายชยดิฐ หุตานุวัตร ประธานสมาคมสถาบันทิวา นายกฤชฐาโภคาสถิตย์ อดีตประธานอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซ นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย นายตฤณ วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมดิจิตอลเทรด
ดร.สุทัศน์ ครองชนม์ นายกสมาคมไทย IoT นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ นายกสมาคมธุรกิจไม้ ประธานผลิตภัณฑ์ไม้ Asian อุปนายกสมาคมเครื่องเรือนไทย
นายเมฆินทร์ เอี่ยมสอาด อดีตคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ นายณฐกร สุวรรณธาดา อดีตกรรมการคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตร นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย นายสานิตย์ จิตต์นุพงศ์ สำนักงานโครงการข้าวรักษ์โลก เป็นต้น
โดยได้เชิญองค์ปาฐกร่วมแสดงวิสัยทัศน์ อาทินายเกรียงไกร เธียรนุกุลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสนั่น อังอุบลกุลประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานหอการค้าไทย ฯลฯ.