พิษณุโลก เปิดจุดเสี่ยงการเกิดอุทกภัย เพื่อสร้างการป้องกันช่วงฤดูน้ำหลาก ผู้ว่าฯ สั่งการทุกอำเภอตามหลักการ “ทำทางให้น้ำไป ทำที่ให้น้ำอยู่”

พิษณุโลก เปิดจุดเสี่ยงการเกิดอุทกภัย เพื่อสร้างการป้องกันช่วงฤดูน้ำหลาก ผู้ว่าฯ สั่งการทุกอำเภอตามหลักการ “ทำทางให้น้ำไป ทำที่ให้น้ำอยู่”

วันนี้ (5 มิ.ย.67) ที่ ห้องประชุมสมเด็นพระนเรศวรมหาราช ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า จังหวัดพิษณุโลก มีตำบลพื้นที่เสี่ยงอุทุกภัย 5 ลุ่มน้ำ ดังนี้ 1.แม่น้ำน่าน : อำเภอเมืองพิษณุโลก 11 ตำบล 2.แม่น้ำยม : อำเภอพรหมพิราม 10 ตำบล อำเภอบางระกำ 6 ตำบล 3. แม่น้ำภาค : อำเภอชาติตระการ 6 ตำบล 4.แม่นำแควน้อย : อำเภอนครไทย 8 ตำบล 5.แม่น้ำวังทอง : อำเภอวังทอง 11 ตำบล , อำเภอบางกระทุ่ม 6 ตำบล และแม่น้ำชมพู : อำเภอเนินมะปราง 5 ตำบล

   

โดยสั่งการให้ทุกอำเภอใช้หลักการ “ทำทางให้น้ำไป ทำที่ให้น้ำอยู่” โดยให้ทุกพื้นที่นำข้อมูลจุดเสี่ยงสร้างการรับรู้ให้พื้นที่ชุมชนรับทราบเพื่อเป็นการป้องกัน พร้อมให้ท้องถิ่น เร่งขุดลอก/กำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันสิ่งกีดขวางทางน้ำสาเหตุหนึ่งของอุทกภัย รวมทั้งสำรวจตรวจสอบเส้นทางระบายน้ำ คลองรับน้ำที่สำคัญ กรณีงบประมาณไม่เพียงพอให้ดำเนินการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณมายังจังหวัด สำหรับระยะยาว สั่งการชลประทานศึกษาขยายพื้นที่เขตชลประทานพื้นที่คลองโคกช้าง

   
นับจากวันนี้ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2567 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดพิษณุโลก ได้ติดตามสภาพอากาศพบว่า อาจจะมีฝนตกหนักถึงตกหนักมาก จึงขอแจ้งเตือนอำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย อำเภอวังทอง และอำเภอเนินมะปราง เตรียมพร้อมรับมือ ติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมบุคลากร เครื่องจักร ลอกท่อระบายน้ำ บูรณาการความพร้อมเพื่อการให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนให้แจ้งเตือนสถานการณ์รายวัน

 

ปรีชา นุตจรัส รายงานข่าวพิษณุโลก