เชียงใหม่-หน่วยทีเอ็มยู มทร. ล้านนา พัฒนาจัดเก็บข้อมูลงานประชุมนานาชาติของไมซ์ซิตี้ เสริมศักยภาพ การแข่งขันในอุตสาหกรรมไมซ์ระดับโลก

เชียงใหม่-หน่วยทีเอ็มยู มทร. ล้านนา พัฒนาจัดเก็บข้อมูลงานประชุมนานาชาติของไมซ์ซิตี้ เสริมศักยภาพ การแข่งขันในอุตสาหกรรมไมซ์ระดับโลก

 

 

วันที่ 22 มกราคม 2567 หน่วยวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ (TMU) ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดกิจกรรมเผยแพร่และถ่ายทอดนวัตกรรม Thailand Top Convention (TTC) ภายใต้โครงการการพัฒนากลไกการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการจัดประชุมนานาชาติของไมซ์ชิตี้ เข้าสู่สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ICCA) โดยมีนายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม อาจารย์ อนาวิน สุวรรณะประธานหน่วยวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ (TMU)คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงาน

พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี และคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
, ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ,วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ,ผู้บริหารหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่,นายกสมาคมและภาคเอกชน,ผู้ประกอบการโรงแรมและสถานที่จัดงานประชุม ตลอดจนผู้มีเกียรติ ร่วมงาน ภายในงานมีกิจกรรมเสวนา “โอกาสของไมซ์ซีตี้สู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการจัดประชุมนานาชาติ” ณ ห้อง Grand Ballroom ชั้น 2 โรงแรม InterContinental Chiang Mai The Mae Ping จังหวัดเชียงใหม่

อาจารย์ อนาวิน สุวรรณะ ประธานหน่วยวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ (TMU)คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า หน่วยวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ (TMU) คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร. ล้านนา) ร่วมกับฝ่ายส่งเสริมการจัดประชุม นานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ ทีเส็บ ได้พัฒนาระบบการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลงานประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อคัดกรองเข้าสู่การพิจารณาของสมาคมการประชุมนานาชาติ (International Congress & Convention Association – ICCA) ในการจัด อันดับจุดหมายปลายทางของการประชุมนานาชาติ หรือ ICCA Rankings โดยเป็นการดำเนินงาน ภายใต้โครงการการพัฒนากลไกการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการประชุมนานาชาติของไมซ์ซิตี้เข้าสู่ สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ (ICCA) ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) กำหนดให้เป็นโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี งบประมาณ 2566

โดย หน่วย ทีเอ็มยู มทร. ล้านนา ร่วมกับทีเส็บ ได้พัฒนาเว็บไซต์ Thailand Top Convention (TTC) https://thailandtopconvention.com/th/home เพื่อใช้จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลการจัดงานประชุมนานาชาติของประเทศ ซึ่งนอกจากการรายงานผลไปยัง ICCA แล้วข้อมูล ยังจะเกิดประโยชน์ต่อนักวิชาการ นักวิจัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการการพัฒนาอุตสาหกรรมการ ประชุมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยการพัฒนาแพลตฟอร์ม TTC ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการ สถานที่จัดงานประชุม เช่น ศูนย์ประชุม โรงแรม รีสอร์ต สามารถกรอกข้อมูลการจัดงานประชุม นานาชาติตามหลักเกณฑ์ของการจัดอันดับ ICCA Rankings อาทิ ชื่องานประชุม พื้นที่หรือเมืองที่จัด งาน จำนวนผู้เข้าร่วมงาน สถานที่จัดงาน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปคัดกรองเข้าสู่การรวบรวมและนำส่งไปยังสมาคม ICCA เป็นประจำทุกปี เพื่อเพิ่มอันดับของเมืองไมซ์ซิตี้และประเทศ ไทยในการจัดอันดับเมืองและประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของการประชุมนานาชาติ ICCA Rankings 2023

รายงานผลจากการจัดอันดับ ICCA Rankings 2022พบว่าเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกแล้วประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการประชุมนานาชาติในลำดับที่ 7 จาก 18 ประเทศ ด้วยจำนวนงานประชุมนานาชาติ 81 งาน ในส่วนของเมืองไมซ์ซิตี้นั้น กรุงเทพมหานครอยู่ใน ลำดับที่ 4 เชียงใหม่อยู่ในลำดับที่ 28 ภูเก็ตอยู่ในลำดับที่ 35 และพัทยาอยู่ในลำดับที่ 46 จากทั้งสิ้น 67 เมือง หากเมืองไมซ์ซิตี้และประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่สูงข้ึนใน ICCA Rankings 2023 จะ เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมไมซ์ระดับโลก นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ การสร้างรายได้มหาศาลในตลาดมูลค่าสูง อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับดังกล่าวขึ้นอยู่กับการนำส่ง ข้อมูลจำนวนงานประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นในเมือง

เป้าหมายสำคัญของการดำเนินโครงการนี้คือ การพัฒนากลไกจัดเก็บและรายงานข้อมูลการประชุมนานาชาติ Thailand Top Convention (TTC)โดยผลสำเร็จจากการดำเนินงานได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมภาคและผู้ประกอบการ จำนวน 60 ราย 2) การจัดอบรม หัวข้อ “การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดประชุมมืออาชีพเพื่อขับเคลื่อนเชียงใหม่เมือง ประชุมนานาชาติ (Chiang Mai City of Conventions)” สำหรับนักศึกษาและบุคลากรจำนวน 100 คน 3) โครงงาน Final Project ของนักศึกษารายวิชาไมซ์ จำนวน 6 โครงการ 4) นักศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 3 คน 5) บทความวิชาการ ระดับชาติเรื่อง 1 เรื่อง “การพัฒนารายการสิ่งสนับสนุนจากเมืองเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติสำหรับ เชียงใหม่ไมซ์ซิตี้” อีกทั้งยังได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม “กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานที่จัดงาน ประชุมนานาชาติ” เพื่อใช้สำหรับอบรมและพัฒนาผู้ประกอบการสถานที่จัดงานประชุมนานาชาติ

ดังนั้น หน่วยทีเอ็มยู คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร. ล้านนา ร่วมกับ ทีเส็บ จึงพัฒนาแพลตฟอร์ม TTC ขึ้นมา เพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการจัดประชุมนานาชาติของประเทศไทย รวมถึงเพิ่มอันดับประเทศและ เมืองปลายทางการจัดประชุมนานาชาติในการจัดอันดับประจำปีของ ICCA Country and City Rankings ซึ่งการติดอันดับของไมซ์ซิตี้และประเทศไทย ช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดผ่านการมองเห็น ในข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของทั้ง ICCA และสื่อมวลชนทั่วโลก รวมถึงเพิ่มโอกาสทาง ธุรกิจจากความน่าเชื่อถือที่เพิ่มขึ้น

นภาพร/เชียงใหม่