นครนายก – วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการนครนายก จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรม ไทย-จีน (Summer Camp) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการศิลปะและวัฒนธรรม

นครนายก – วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการนครนายก จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรม ไทย-จีน (Summer Camp) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการศิลปะและวัฒนธรรม

ที่วิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานเปิดโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทย-จีน (Summer Camp) โดยมีนางพัทยา ตินานพ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการ นครนายก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ศุขวัฒน์ ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัย เทคโนโลยีพณิชยการนครนายก นางสาวจุฑารัตน์ ศรีนวลปาน ศึกษาธิการจังหวัดนครนายก นายพรชัย พิศาลสิษฐ์กุล นายกสมาคมการศึกษาเอกชนนอกระบบประเทศไทย ดรวรรณา ตันประภัสร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี

ดร.มัฆวาน ศุขวัฒน์ ผู้จัดการวิทยาลัยเทคโนโลยี พณิชยการนครนายก คุณเพ็ญศรี โชติรัตน์ ประธานคณะกรรมการประสาน และส่งเสริมการศึกษาเอกชน นอกระบบจังหวัดปราจีนบุรี นายประทีปวงศ์เชิดขวัญ ประธานคณะกรรมการประสาน และส่งเสริมการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดนครนายก นายประยุทธ์ภาคบัว รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอยุธยา นายผู้ชนะ อุดมเวช รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครนายก และผู้บริหารในเครือข่าย ได้ให้การต้อนรับและร่วมในพิธี โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทยจีนซัมเมอร์แคมป์ เป็นโครงการที่มุ่ง เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม

เพื่อให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ ฝึกให้นักเรียน ได้มีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น อีกทั้งได้ตระหนักถึงความแตกต่างของวิถีชีวิต ทั้งแนวคิดวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างซึ่งกันและกัน ในโครงการนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 23 คน เป็นอาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาทางรถไฟหลิวโจว จำนวน 4 ท่าน และนักเรียน 19 คน หัวหน้าสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในประเทศไทย ที่เข้าร่วมในโครงการ 5 สถาบัน ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการนครนายก วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา

วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี และสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาทางรถไฟหลิวโจว ประเทศจีน ที่มีการจัดการศึกษาร่วมกันและส่งนักศึกษาไปเรียน ในระบบขนส่งทางรางจากปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 5 ของการจัดตั้งโครงการนี้ แสดงถึงความเชื่อมโยงทางด้านวิชาการที่มีความต่อเนื่อง และเป็นความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าโครงการนี้ จะช่วยงานการศึกษาและพัฒนา การศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

 

สมบัติ เนินใหม่//รัชชานนท์ เนินใหม่//ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครนายก