ประจวบคีรีขันธ์-ชิปปิ้งอาหารทะเลด่านสิงขรบางรายทำน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น ผ่าฝืนคำสั่งจังหวัดห้ามขนถ่ายสินค้าเปียกป้องกันโรคระบาด วันหยุดไร้หน่วยงานรัฐตรวจสอบ
ประจวบคีรีขันธ์-ชิปปิ้งอาหารทะเลด่านสิงขรบางรายทำน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น ผ่าฝืนคำสั่งจังหวัดห้ามขนถ่ายสินค้าเปียกป้องกันโรคระบาด วันหยุดไร้หน่วยงานรัฐตรวจสอบ
https://youtu.be/x1yl_CvfZww
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบ การขนถ่ายสินค้าที่โนแมนแลนด์ หรือพรมแดนระหว่างสองประเทศ (No Man’s Land) จุดตรวจด่านสิงขร บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ หมู่ 6 บ้านสิงขร ต.คลองวาฬ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากมีผู้ร้องเรียนไปป้องกันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่าผู้ประกอบการขนส่งสินค้า (ชิปปิ้ง) ปล่อยน้ำจากวัตถุดิบอาหารทะเลลงพื้นโดยไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดน้ำเสียจากซากสัตว์ไหลลงพื้น น้ำขังเจิ่งนอง ส่งกลิ่นเหม็น ทั่วบริเวณ กระทบสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
จากการตรวจสอบพบว่า มีรถขนส่งสินค้าไม่มากนักเนื่องจากเป็นวันหยุด โดยวัตถุดิบอาหารทะเลหลายชนิดบรรจุอยู่ในลังพลาสติกอย่างหนา โดยมีน้ำแข็งซึ่งเป็นตัวรักษาความสดของอาหารทะเลไว้ ซึ่งผิดเงื่อนไขตามคำสั่งจังหวัด ส่งผลให้น้ำแข็งที่ละลายเป็นน้ำนำกลิ่นของอาหารทะเลส่งลงพื้น
ถึงแม้ผู้ประกอบการมีการนำกระบะรอน้ำจากรถก็ตาม และท้ายที่สุดก็ต้องเทน้ำทิ้งบริเวณดังกล่าว ทำให้น้ำสะสมและเน่าเสีย เนื่องจากบริเวณโนแมนแลนด์เป็นลานขนถ่ายสินค้าชั่วคราว ไม่มีระบบจัดการสุขอนามัยอย่างเป็นระบบ ไม่มีระบบกำจัดของเสียน้ำและขยะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ระหว่างการขนถ่ายสินค้าจากรถสิบล้อมีเพียงเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 6 (ประจวบคีรีขันธ์) เท่านั้น ปราศจากหน่วยงานที่ต้องประจำจุดตรวจประกอบด้วย ประมง เกษตร ตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา หรือ ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ที่ร่วมตรวจสอบ ในขณะที่เจ้าหน้าที่มีเพียงสองคน ทำการซุ่มตรวจเปิดฝาลังพลาสติก โดยไม่ทราบว่าสินค้าที่อยู่ใต้น้ำแข็ง ตรงตามที่แจ้งไว้กับหน่วยงานหรือไม่
ซึ่งผู้ประกอบการแจ้งว่าวันนี้เป็นวันเสาร์จึงไม่มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่น ทั้งที่ มีคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการชายแดนไทย-เมียนมาร์ เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ผ่อนผันให้มีการขนส่งสินค้าเฉพาะอาหารแห้งเท่านั้น ขณะเดียวกันเมื่อปี 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งห้ามขนถ่ายสินค้าเปียก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มากับวัตถุดิบที่มีความชื้น ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงระบาดเชื้อโควิด 19
ออกมาตรการให้ผู้ประกอบการ 1.ให้ถุงบรรจุอาหารทะเลสด ใส่ในถุงสองชั้น และผูกมัดปากให้สนิท 2.ถุงต้องบรรจุอยู่ในถังพลาสติก และมีถังพลาสติกรองรับน้ำระหว่างรถบรรทุกทั้งสองคัน ป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงพื้น 3.ต้องแจ้งการเข้าออกสินค้าให้ถูกต้องการพิกัดศุลกากร ทั้งประเภท ชนิด ปริมาณและน้ำหนัก 4.ต้องทำความสะอาดทุกวัน มีการโรยปูนขาวฆ่าเชื้ออาทิตย์ละสองครั้ง เก็บเศษขยะที่แรงงานนำอาหารมารับประทานระหว่างขนส่งสินค้า
นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสยามโฟกัสไทม์/4เหล่าทัพ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์0909944781