เพชรบูรณ์-พระ ตำรวจ จิตอาสา ชาวบ้าน ร่วมปลูกต้นไม้ เนื่องในโอกาส วันต้นไม้ประจำปีของชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เพชรบูรณ์-พระ ตำรวจ จิตอาสา ชาวบ้าน ร่วมปลูกต้นไม้ เนื่องในโอกาส วันต้นไม้ประจำปีของชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังโป่ง – ชนแดน หมู่ 10 บ้านตะโกงาม ต.วังโป่ง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ นายสุเทพ เบียร์ดี นายอำเภอวังโป่ง เป็นประธานเปิดกิจกรรมปลูกป่า เนื่องในโอกาส วันต้นไม้ประจำปีของชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และวันวิสาขบูชา โดยมี นายสว่าง สิทธิชยาพรกุล ผอ.ส่วนประสานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ สำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๑ (พิษณุโลก) กล่าวรายงาน มี พระครูกิตติพัชโรภาส เจ้าคณะอำเภอวังโป่ง นายศุภกร อินทรประสิทธ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังโป่ง – ชนแดน นายพัฒธพงศ์ การดี หัวน้าโครงกรพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านวังไทรทอง พ.ต.อ.ประมุข ปิ่นปลิ้มจิตต์ ผกก.สภ.วังโป่ง และหัวหน้าส่วนราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสาพระราชทาน ประชาชน ร่วมกันปลูกต้นยางนา ต้นพยุง ต้นหว้า ไผ่บง ในพื้นที่กว่า3ไร่


เนื่องจากป่าไม้นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อสังคมมนุษย์ขยายตัวมากขึ้น ความต้องการในด้านบริโภคทรัพยากรย่อมขยายตัวมากขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้โดยง่ายที่สุด แต่การปลูกทดแทนต้องใช้ระยะเวลา และต้องการดูแลรักษา ทำนุบำรุง ซึ่งหากไม่มีการควบคุมการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ พื้นที่ป่าในสังคมนั้นๆ ก็จะเสื่อมโทรมหรือหมดไปในที่สุด


คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2532 ให้วันวิสาขบูชาของทุกปี ซึ่งอยู่ในช่วงเตือนพฤษภาคมและเป็นระยะเริ่มต้นของถูดูฝน เหมาะสมแก่การปลูกตันไม้ ให้เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2566 นี้ ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จึงได้จัดกิจกรรมในวันนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม ดังนี้ เพื่อการปลูกจิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรม ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่สำหรับให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้รวดเร็ว (เช่น เห็ด และหน่อไม้) ทำให้ชุมชนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน

 

เดชา มลามาตย์