ขอนแก่น – วว. จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชน วางเป้าหมายเสริมแกร่งอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการอีสาน

เน้นย้ำถึงหัวใจหลัก ในเรื่องของระบบนิเวศน์ของอุตสาหกรรม Ecosystem) ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบส่วนผสม (Sourcing) การผลิตและแปรรูปอาหารทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการการผลิต (Processing) ตลอดไปจนถึงการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มันใจไทยพร้อมเป็น “อับกระบวนการผลิต ที่เพียบพร้อมด้วยแหล่งวัตถุดิบส่วนผสมแห่งเอเชีย” ที่ทั่ว โลกให้การยอมรับในอนาคตอันใกล้

 

เมื่อวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่โรงแรมพูลแมน บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้นำธุรกิจการจัดแสดงสินค้าระดับนานาชาติอันดับหนึ่งของโลก นำโดย น.ส.รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ ภูมิภาคอาเซียน ต่อยอดความสำเร็จจากจัดงาน โครงการงาน Food Technology Events by informa Markets” (ฟู้ด เทค โนโลยี อีเว้นท์ส บาย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์) เมื่อเดือนที่ผ่านมา กับหมุดหมายใหม่ จ.ขอนแก่น โดยยังคงเน้นย้ำถึงหัวใจหลัก ในเรื่องของระบบนิเวศน์ของอุตสาหกรรม Ecosystem) ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบส่วนผสม (Sourcing) การผลิตและแปรรูปอาหารทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการการผลิต (Processing) ตลอดไปจนถึงการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มันใจไทยพร้อมเป็น “อับกระบวนการผลิต ที่เพียบพร้อมด้วยแหล่งวัตถุดิบส่วนผสมแห่งเอเชีย” ที่ทั่ว โลกให้การยอมรับในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน โดยมีดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนี้มี ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ร่วมในบรรยาย


น.ส.รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ เผยถึงที่มาของการจัดงานในครั้งนี้ “การจัดงานในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 รองการจัดงานโครงการดังกล่าว ต่อเนื่องภายในเดือนเดียว หลังจากประสบความสําเร็จในการน่าสื่อมวลชนทั่วอาเซียนเยี่ยมชมศักยภาพของผู้ประกอบการทางภาคเหนือ โดยในครั้งนี้ได้มุ่งเน้นไปในกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ กลุ่มธุรกิจชุมชน หรือ SME ให้ได้มองเห็นโอกาสและความสำคัญของกลุ่มธุรกิจนี้ ที่ถือว่ามีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งต่อ ระบบเศรษฐกิจ และสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ภายใต้บริบทการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว SME ซึ่งถือว่ามีอยู่เป็นจํานวนมาก จะต้องมีความรู้ มีทักษะในการประกอบธุรกิจสามารถสรรสร้าง สินค้า/บริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีมูลค่าสูง แข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก เพื่อให้ SME ในภาคอีสานก้าวขึ้นเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้อย่างแท้จริง”


น.ส.รุ้งเพชร กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ปักหมุดความสำเร็จครั้งใหม่ของโครงการ “Food Technology Events by Iriforta Markets” (ฟู้ด เทคโนโลยี อีเว้นท์ส บาย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ประกอบในภาคอีสานใต้สัมผัสกับเทรนด์ของอุตสาหกรรม จากเหล่าบรรดานักวิชาการ และแทนจากร้อยเป็นแรงผลักให้กลุ่มนี้ และอีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการภาคอีสาน สู่งานที่กำลังจะจัดงานมหกรรมแห่งปีถึง 2 งาน ได้แก่ “Propak Asia 2023” (โพรแพ็ค เอเชีย 2023) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 – 17 มิถุนายน 2566 และ “Fil Asia Thailand 2023” (ฟู้ด อินกรีเดียนส์ เอเชีย 2023) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20 – 22 กันยายน 2556 ภายใต้การผนึกความร่วมมือองค์กรทั้ง ภาครัฐและเอกชน พร้อมร่วมเป็นหนึ่งในการกระตุ้น เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของ SME ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมเข้าสู่การแข่ง ขันอย่างมืออาชีพ เพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของ SME เพื่อสร้างมูลค่า ตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย


ด้าน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในงาน Fi Asia Thailand 2023”ทาง วว. มีทางสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ที่ร่วมจัดงานเราก็จะมีงานด้านวิจัย ที่เกี่ยวกับงานด้าน food อินกรีเดียนส์ ร่วมจัดแสดงให้ดู มีนวัตกรรม ผลงานใหม่ๆ เป็นหน่วยหนึ่งที่ช่วยสนับสนุน ที่จะทำให้ผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรม โดยที่ทาง วว.เอง เพื่อสร้างพื้นฐานที่เป็นโรงงานนวัตกรรมช่วยท่านในการรับความเสี่ยงที่ท่านจะลงทุน เพื่อที่จะผลิตสินค้า ที่ทาง วว.จะมีเครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องจักร และจะมีนักวิจัยเข้ามาช่วย และสนับสนุนสินค้าของท่านที่จะให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน เป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมและ สามารถที่จะไปขายสินค้าในตลาดได้ และมีบริการ ในการรับรองคุณภาพ ต่างๆ


ดร.ชุติมา กล่าวเสริมว่าแม้ว่าท่านจะมีสินค้าของท่านอยู่แล้ว แต่ท่านอยากจะยกระดับสินค้า ให้มีคุณภาพเราก็มีให้บริการ ในการให้คำปรึกษา และทำสินค้าของท่านให้มีนวัตกรรม และนำไปสู่การค้าการขายไม่ใช่ว่าในตลาดในประเทศเท่านั้น แต่ยัง สามารถไปขายในต่างประเทศด้วยด้วย เพราะว่าในงาน Fi Asia Thailand ที่มาดูงานส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติซึ่งสินค้าไทยในเรื่องของอาหาร บอกไปเลยว่าประเทศเราเปลี่ยนสินค้าด้านการเกษตร อาหาร ด้านความหลากหลาย และมีคุณภาพที่ดีมากๆอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแปรรูปที่ท่านอยากจะยกระดับสินค้า หรือต้องการหาตลาดในต่างประเทศ และต้องการให้เราช่วยสนับสนุน เช่นการยกระดับคุณภาพสินค้า การยกระดับการผลิต ในเรื่องให้การรับรองตามมาตรฐานสากล ททาง วว.ก็มีการให้บริการ ในงาน Fi Asia Thailand ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้


ส่วน ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าในการส่งเสริมต่อยอด ด้วยเกษตรภาคอุตสาหกรรม สภาพอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นเรา มีความยินดี ที่มีเครือข่าย ด้านการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นต้น และผู้เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรม ก็มีความหวังว่า เราอยากยกสินค้าด้าน การเกษตรที่มีอยู่แล้ว ของภาคอีสานเองให้เป็นสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง และขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้วย เราจะเห็นว่าอุตสาหกรรมใหญ่ๆเขาก็มีการขยับปรับตัว ทำได้แล้วในเรื่องของไบโอกันแล้ว เพราะเป็นในเรื่องของ by Perfect เช่นสีข้าวได้แกลบ ผลิตน้ำตาลต้องมีกากอ้อย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเชื้อเพลิง ในการทำชีวมวล อย่างโรงไฟฟ้าจากชีวมวลเขาทำได้ ส่วนเรื่องของ เซลกูล่าก็มีการหมุนเวียน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล


ดร.ทวีสันต์ กล่าวอีกว่าส่วนเรื่องกรีนคืออุตสาหกรรมสีเขียว ที่อยากเห็นในบ้านเรา คือว่าเราอยากขับเคลื่อนด้วย BTG แต่คนส่วนมากของเราคือเกษตรกรรม มีรายได้จากภาคการเกษตรเพียง 10% ของรายได้ทั้งหมดของจังหวัด คนส่วนมากเป็นคนจน ซึ่งทำการเกษตรทำอย่างไรถึงจะ เป็นเกษตรมูลค่าสูงได้ และต่อยอดอย่างไรได้บ้าง ส่วนพืชหลักของขอนแก่น มีอ้อย มีน้ำตาล มีข้าว และมีในเรื่องของปศุสัตว์ เราต้องหันกลับมามองว่าจุดเด่นของ ของจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นพื้นที่ราบสูง แต่พืชไร่ที่เหมาะสม เราควรปรับเปลี่ยนการปลูกเป็นอย่างอื่นดีไหม ซึ่งจะเป็นพืชเศรษฐกิจและมีมูลค่าสูงได้อันนี้คือส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วเราควรจะยกระดับอย่างไร จะแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง
ดร.ทวีสันต์ กล่าวทิ้งท้ายว่าซึ่งยอดปีละนิดของBTG คือ เวชภัณฑ์หรือยา และเครื่องสำอางสิ่งเหล่านี้ เป็นมูลค่าสูงทั้งหมด อย่างช่วงโควิดที่ผ่านมาพืชบางอย่าง เป็นพืชที่ไม่มีค่ากับการเป็นพืชพื้นบ้านที่มีมูลค่าได้ เช่น กระชายขาว ฟ้าทะลายโจร ก็เป็นยาต้านโควิดได้ ภาคอีสานเราก็สามารถปลูกพืชสมุนไพรได้หลายอย่าง เราควรเอาพืชเหล่านี้มาทำและต่อยอดทำเป็นเรื่อง ยา ถ้าทำเป็นยาได้ได้รับการรับรองจาก อย. ก็จะถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงได้ จ.ขอนแก่นเราก็มีกลุ่มหมู่บ้านที่เลี้ยงจิ้งหรีดอยู่ ที่เป็นโปรตีนทางเลือก เช่นบุคคลที่ 1 สัปดาห์ เขาจะไม่ทานเนื้อสัตว์ เน้นผักอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้เพราะส่วนมากทานโปรตีนทางเลือกที่ผลิตจากจิ้งหรีด อันนี้ก็เป็นโจทย์ว่าถ้าคนต่างประเทศเขามีเทรนด์ เขาบริโภคแบบนี้เราสามารถผลิตหรือทำแบบนี้ ถึงจะขายและต่อยอดได้.