สตูล แข่งขันปีนเสาน้ำมันสร้างสีสันในงาน ลากพระครั้งที่ 17 สร้างเสียงเฮฮา หลังหยุดกิจกรรมมา 2 ปี ส่งเสริมกิจกรรมพื้นบ้าน อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชาวใต้

สตูล แข่งขันปีนเสาน้ำมันสร้างสีสันในงาน ลากพระครั้งที่ 17 สร้างเสียงเฮฮา หลังหยุดกิจกรรมมา 2 ปี ส่งเสริมกิจกรรมพื้นบ้าน อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชาวใต้

ช่วงเย็นที่ผ่านมาที่บริเวณสนามหน้าวัดมงคลมิ่งเมือง ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล มีเสาน้ำมัน 1 ต้นปักกลางลานและมีถุงน้ำมันพืช 2 ถุงผูกติปลายยอดที่สูง และมีซองใส่เงินสีขาวจำนวน 2,000 บาทติดบนปลายเสา และเป็นการแข่งขัน ปีนเสาน้ำมัน โดยปีนี้กิจกรรมสนุกสนาน มีผู้สมัครเข้าแข่งขันเป็นคนในพื้นที่เด็กผู้ชาย และ วันรุ่น 3-4 คนมีมาสมัคร 3 ทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขัน ปีนเสาน้ำมัน กันอย่างสนุกสนานและเฮฮาเปิดเพลงดนตรีสนุกๆไปตามจังหวะทันที โดยมีกองเชียร์ ส่งเสียงเชียร์อย่างสนุกสนาน และเรียกความสนุกสนานกลับมาอีกครั้ง

หลังกิจกรรมนี้หยุดไปในช่วงการเกิดการแพร่ละลบาดของโรคโควิด- 19 ใน 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อแข่งขันเสร็จสิ้น ก็ได้รางวัลตามความเหมาะสมของผู้จัด ที่ 1 ได้ 2,000 บาท ที่ 2 ได้ 500 บาท และที่ 3 ได้ 500 บาท แต่ที่แน่ๆผู้สมัครแข่งขันตามเนื้อตามตัว เปียกเมือกตัวมัน และบางคนเสื้อขาดแต่บอกว่า สนุกดี แข่งขันกันแบบสามัคคีกันและกัน แต่ตอนแข่งขัน เหยียบไหล่ เหยียบลำตัว แต่ละคนแสดงสีหน้าแววตาตลกเฮฮาไปไปด้วย และในช่วงค่ำที่ผ่านมา นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิดโครงการประเพณีลากพระ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2565

โดยมี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดสตูล, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัสตูล,พ.อ.เรวัตร เซ่งเข็ม ผบ.ร.5 พัน.2 ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมเป็นเกียรติ มีนายสุนทร พรหมเมศร์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองขุด กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ มีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาลตำบลคลองขุดให้การต้อนรับ มีประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองขุด และ นักท่องเที่ยวเข้าร่วม กิจกรรมจำนวนมาก


โดยกิจกรรมประเพณีลากพระ ประจําปี พ.ศ. 2565 จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 17 เพื่อทำนุบำรุงรักษาส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น สืบสานประเพณีลากพระ ซึ่งเป็นกิจกรรมดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวภาคใต้ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่น และสร้างความสามัคคีภายในชุมชน เพื่อให้ประชาชน เยาวชน ผู้นำชุมชนได้ตระหนักถึงประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น


ทั้งนี้ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การเดินแห่ขบวนเรือพระ การแข่งขัน ทำน้ำแกงขนมจีน การแข่งขันทำขนมต้ม การแข่งขันกินขนมต้ม การแข่งขันขูดมะพร้าว การแข่งขันปีนเสาน้ำมัน เวลา 19.30 น. พิธีสงฆ์ พิธีสมโภชเรือพระ การประกวดเรือพระ การประกวดขบวนเรือพระ การแข่งขันตีโพน การแสดงทางด้านวัฒนธรรม และ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ มีประชาชนให้ความสนใจและเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดสตูล