“เลย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” ศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของเมืองและชุมชน

“เลย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” ศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของเมืองและชุมชน

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.65 ณ ห้องชัยพฤกษ์ โรงแรมเลยพาเลซ ต.กุดป่อง อ.เมืองเลย จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดกิจกรรมศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของเมืองและชุมชนที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก มี ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท.ร่วมด้วย ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เสวนาพิเศษ เรื่อง “เลย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก”

โดยวิทยากรประกอบด้วย นายทนง สุวรรณสิงห์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย นายพิสิทธิ์ ทับทอง ประธานเครือข่ายศิลป์สร้างสรรค์เมืองด่านซ้าย นางสาวเนืองนิตย์ ชัยภูมิ ผู้แทนเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย (ออนไลน์) การนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการขับเคลื่อนเมืองสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO โดย ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ บริษัท เทสโก้ จำกัด

นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 กล่าวว่า อพท. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ท่านพิพัฒน์รัชกิจปราการ) มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเชิงบูรณาการ เป็นองค์กรกลางในการประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อบูรณาการการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศ รวมไปถึงการยกระดับเมืองในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือเมืองในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ให้มีศักยภาพและความพร้อมเพื่อเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN)

ตามเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ที่กำหนดเป้าหมายให้จำนวนเมืองและชุมชนที่มีศักยภาพ ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เมืองของเรา กลายเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติโดย UCCN เป็นการนำความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity) มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เกิดการพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์ ส่งผลต่อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ในพื้นที่การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNES เน้นนโยบาย “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ” ในปี 2547 และได้ให้คำจำ Creative City ว่า คือ การร่วมมือ ระหว่างชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐ ในการสร้างสรรค์ เมืองผ่านการพัฒนาสภาพแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม ระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของท้องถิ่น มาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองที่เอื้อต่อการสร้างธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Industries)

อพท. เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนาและร่วมผลักดันให้เมืองต่าง ๆ
ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของ อพท. ให้มีการขับเคลื่อนไปสู่การสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ซึ่งจะส่งผลให้เมืองต่างๆ เป็นที่ รู้จักในกลุ่มเป้าหมายระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ 295 เมืองจากกว่า 90 ประเทศ ประเทศไทยมี 5 เมือง ที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ สุโขทัย กรุงเทพมหานคร และเพชรบุรี

ในปีงบประมาณ 2565 อพท. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม กิจกรรมศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของเมืองและชุมชนที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ซึ่ง อพท. ได้คัดเลือกเมืองที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ จำนวน 4 เมือง คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง ยะลา และเลย โดยได้ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ศักยภาพตามองค์ประกอบของการสมัครเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ และได้จัดให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดเลยแล้ว 2 ครั้ง ประกอบด้วย กิจกรรมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยระดับท้องถิ่น เพื่อนำเสนอแนวคิด องค์ประกอบ วิธีการขับเคลื่อนเมืองสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 และกิจกรรมทบทวนข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยต่อแนวคิดและวิธีการขับเคลื่อนเมืองสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งได้รับความสนใจและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคีที่เกี่ยวข้อง

โดย อพท. ได้รับข้อมูลและได้มีเครือข่ายที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเมืองเลย สู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ต่อไปการศึกษา วิทยาศาสตร์และวันธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNES เนินนโยบาย “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ” ในปี 2547 และได้ให้คำจำกัดความว่า Creative City ว่า คือ การร่วมมือ ระหว่างชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐ ในการสร้างสรรค์เมืองผ่านการพัฒนาสภาพแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม ระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของท้องถิ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองที่เอื้อต่อการสร้างธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Industries)

สำหรับการประชุมในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งในกิจกรรม ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในระดับจังหวัด เพื่อนำผลการดำเนินงานของโครงการ รวมทั้งข้อมูลสาระสำคัญของแนวคีต องค์ประกอบ วิธีการขับเคลื่อนสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO มานำเสนอและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มอาชีพ นักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน

กิจกรรมสำคัญในวันนี้ อพท. ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษจากตัวแทนเมืองสร้างสรรค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมเสวนา เรื่อง “เลย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ ที่จะได้รับรู้บทเรียนประสบการณ์ของเมืองที่ได้เข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกแล้ว เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าเป็นเครือข่าย บCOV รวมทั้งของจังหวัดที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกต่อไป

ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท. กล่าวถึง จ.เลย ว่า อ.เชียงคาน เป็น 1 ใน 100 เมืองการท่องเที่ยวยั่งยืนของโลกไปแล้ว เพราะมีของดีมากมาย ส่วนการคัดเลือกเอา อ.ด่านซ้าย เข้าโครงการนี้เนื่องจากจังหวัดเลยมีศักยภาพสูงหลายด้านหลายพื้นที่ อ.ด่านซ้าย เป็นเมืองเก่าแก่ยาวนานหลายร้อยปี นอกจากศักยภาพด้านธรรมชาติ อากาศ ความเป็นคนดีของประชาชน ความร่วมมือร่วมใจ ความรักความสามัคคี ร่วมอนุรักษ์รุ่นต่อรุ่นสืบทอดยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเฉพาะงานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรม มีของดีโชว์ นทท.ได้ตลอดทั้งปีรวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า จุดขาย มีกลไกการขับเคลื่อนต่อเนื่อง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ งานและอาชีพ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงเกษตรและเชิงวัฒนธรรม พื้นบ้านจนเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและชาวต่างชาติ

บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย