เชียงใหม่-ประชุมวิชาการระดับชาติ :2nd National Conference on Digital Innovation & Transformation

เชียงใหม่-ประชุมวิชาการระดับชาติ :2nd National Conference on Digital Innovation & Transformation

วันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2565 เวลา 8.30-18.30 น.ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สาขาภาคเหนือตอนบน) จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภราดร สุรีย์พงษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ :2nd National Conference on Digital Innovation & Transformation “นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล” ภายหลังพิธีเปิดการประชุม ร่วมกันแถลงข่าวโดยศาสตราจารย์ ไอชา เซคคารี มหาวิทยาลัยแห่งเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส (Prof. Aicha Sekhari, University of Lyon, France)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศาสตราจารย์ คีเชฟ ดาฮาล มหาวิทยาลัยแห่งเมืองสก๊อตแลนด์ตะวันตก สหราชอนาจักร (Prof.Keshav Dahal, University of West of Scotland, United Kingdom) ศาสตราจารย์ ซอลตาน ซาโบ มหาวิทยาลัยคอร์วินัสแห่งเมืองบูดาเปส ประเทศฮังการี (Prof. Zoltan Szabo, Corvinus University of Budapest, Hungary)

ศาสตราจารย์ไอชา เซคคารี ได้กล่าวถึง ภาพรวมของโครงการ และกิจกรรมของโครงการ ว่าโครงการ SUNSpACe เป็นโครงการภายใต้การสนับสนุนของโครงการ ERASMUS+ (อีราสมุส พลัส) ภายใต้ Key Action: ความร่วมมือสำหรับนวัตกรรมและการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ด้าน การเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเริ่มโครงการในเดือน มกราคม 2019 และจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2023 สำหรับชื่อโครงการ SUNSpACe ย่อมาจาก Sustainable development Smart Agriculture Capacity ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการฝึกอบรม เพื่อสร้างทักษะให้แก่เกษตรกรอัจฉริยะ (smart farmer) โดยใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืน ใน 3 ประเทศในอาเซีย ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศเนปาล และประเทศภูฐาน

กิจกรรมหลักที่ได้ดำเนินการในโครงการ SUNSpACe ได้แก่ การฝึกอบรมเกษตรกร ใน 4 โมดูล ได้แก่ Digital Agriculture, Smart Farming, Standards & Norms และ Business Models การพัฒนาศูนย์นำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ เกษตรออแกนิกส์ เกษตรคุณภาพ การทำงานเกษตรที่เหมาะสม เป็นต้น การพัฒนาศูนย์วิจัยเกษตรอัจฉริยะในประเทศพันธมิตร และการริเริ่มสร้างเครือข่ายการเกษตรอัจฉริยะในเชียและการแลกเปลี่ยนความรู้ของศูนย์นำร่อง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตร ภายในโครงการนี้ ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในยุโรปและเอเชีย เช่น การพัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะ สำหรับการตรวจสภาพดิน (soil sensor) การตรวจสภาพอากาศ (air sonsor) การตรวจสภาพน้ำ (water sensor) การตรวจภาพอากาศ (weather station) รวมถึงการออกแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะ (smart controller) เช่น ระบบควบคุมการรดน้ำ ระบบควบคุมความชื้นในอากาศ เป็นต้น นอกจากอุปกรณ์อัจฉริยะแล้ว โครงการยังได้พัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อแสดงผลข้อมูลให้กับเกษตรกร (monitoring) ระบบวิเคราะห์ข้อมูลฟาร์ม (analytics) จนถึงวันนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อบรมเกษตรอัจฉริยะไปแล้วกว่า 200 คนทั่วภาคเหนือ

ศาสตรจารย์คีเชฟ ดาฮาล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า หนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการคือการช่วยสร้างเครือข่ายให้กับเกษตรกร นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบายในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โครงการได้จัดเวิร์กช็อปมากมายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการ SUNSpACe ได้จัดการรวบรวมเกษตรกรและผู้ให้บริการเทคโนโลยีฟาร์มในแพลตฟอร์มเดียวกัน เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ทั้งสองวิธี โครงการนี้ทำงานร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพและก่อตั้งผู้ให้บริการเทคโนโลยีอัจฉริยะ และองค์กรเกษตรกร เช่น สมาคมเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และเกษตรกรอัจฉริยะในประเทศไทย (Thailand Smart Farmer) ในทำนองเดียวกัน โครงการกำลังรวบรวมศูนย์วิจัยการเกษตรของประเทศและสมาคมเกษตรกรในประเทศเนปาลและภูฏาน ซึ่งจะช่วยพัฒนาเครือข่ายระดับชาติในประเทศที่เข้าร่วมโครงการ

โครงการกำลังดำเนินการกิจกรรมสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศในเอเชีย เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้เฉพาะของห้องปฏิบัติการอัจฉริยะ (smart farm lab) ระหว่างพันธมิตรของเราผ่านกิจกรรมนำร่อง โครงการกำลังจัดการฝึกอบรมข้ามประเทศ (cross pilot) สำหรับเกษตรกรจากประเทศพันธมิตรด้วยกัน ณ ประเทศภูฏานในเดือนหน้า เราต้องการนำพันธมิตรที่สนใจ องค์กรเกษตร และนักวิชาการเกษตร เข้าร่วมกับเราเพื่อสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืน

ศาสตราจารย์ ซอลตาน ซาโบ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าในอนาคตโครงการมีแผนจะต่อยอดการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ นอกจาก เกษตรอัจฉริยะเพื่ออาหารแห่งอนาคต (future food) เกษตรอัจฉริยะสำหรับการแปรรูปที่มิใช่อาหาร (non-food) และเกษตรอัจฉริยะสำหรับพลังงาน (energy) โดยใช้ BCG (Bio – Circular – Green) Economy Model นอกเหนือจากนี้ โครงการยังมีแผนในการสร้างศูนย์บ่มเพาะ (incubation center) สำหรับผู้ประกอบการ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของพันธมิตรในแต่ละประเทศ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรของไทย

พัฒนชัย/เชียงใหม่