สระบุรี/ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ตรวจเยี่ยมกิจกรรมการอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมและศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะชุมชน

สระบุรี/ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ตรวจเยี่ยมกิจกรรมการอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมและศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะชุมชน


นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ตรวจเยี่ยมกิจกรรมการอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมและศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะชุมชนภายใต้โครงการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาด ประจำปี พ.ศ.2565 ระดับประเทศ จังหวัดสระบุรี ณ ศูนย์ OTOP Complex พุแค สระบุรี (ตลาดหัวปลี) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี


ทั้งนี้ จังหวัดสระบุรีได้รับรางวัลชนะเลิศจังหวัดที่มีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาดประจำปี พ.ศ.2565 ของกลุ่มภาคกลางและภาคตะวันตกและกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นรางวัลให้แก่จังหวัดเพื่อใช้ในกิจกรรมในการขยายผลต่อไป จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันจังหวัดสระบุรีมีขยะอินทรีย์ร้อยละ 43.26 %หรือ 272 ตันต่อวัน ที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนมาอย่างต่อเนื่องทำให้ลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกที่ออกจากครัวเรือนได้ส่วนหนึ่ง เป็นการลดภาระการเก็บขนและการนำเข้าสู่ระบบการกำจัดที่ปลายทางได้ แต่ควรมีวิธีการจัดการขยะอินทรีย์ที่เป็นทางเลือกหรือแรงจูงใจให้ครัวเรือนได้รับประโยชน์ หรือสามารถนำขยะกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะขยะพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุย่อยยากสลายยาก


ปัจจุบันมีขยะปริมาณพลาสติกร้อยละ 31.65 เท่ากับ 189 ตันต่อวันมีจำนวนมากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนลดละเลิกการใช้ถุงพลาสติกอย่างต่อเนื่องแต่ด้วยสภาพสังคมความเจริญเติบโตของทางเศรษฐกิจทำให้ปัญหาขยะพลาสติกที่มีปัญหา จังหวัดสระบุรีได้มีการบูรณาการร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและองค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย ร่วมกันจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนแบบยั่งยืนโดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการแปรรูปขยะรีไซเคิลทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ชุมชนอีกทางหนึ่ง จึงเป็นโอกาสที่ดีในการขยายผลความรู้และนวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติก ให้กับเครือข่ายต่าง ๆ


จังหวัดสระบุรี จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนวัตกรรมและศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการขยะอินทรีและขยะรีไซเคิลให้กับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ และมีการขยายผลไปยังครัวเรือน /ชุมชน/หมู่บ้าน เกิดการนำไปใช้และปฏิบัติจริงในพื้นที่ เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรและเป็นแหล่งศึกษาดูงานควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชน สมารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะอินทรีย์และขยะไซเคิลนำไปแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนสามารถจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังลดปริมาณขยะ ณ แหล่งกำนิด เป็นการประหยัดงบประมาณ/ในการกำจัด ขยะให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


มีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมประกอบด้วย นายอำเภอ ทุกอำเภอหรือผู้แทน เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ผู้แทนโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าภาพการรวมกลุ่มในพื้นที่การจัดการมูลฝอย (Cluster) / และผู้สังเกตการณ์ รวม 160 คน
สำหรับกิจกรรมมีการบรรยายให้ความรู้การจัดทำก๊าซชีวภาพในครัวเรือ และการฝึกปฏิบัติการจัดทำก๊าซชีวภาพในครัวเรือน จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้จำนวน 3 ฐานการเรียนรู้

/ดำรงค์ ชื่นจินดา รายงาน