ลำปาง-สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง แข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ระดับภาคเหนือ

ลำปาง-สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง แข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ระดับภาคเหนือ

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง นายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติครั้งที่ 29 ระดับภาค กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีนายมานิตย์ มงคลชื่น ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง นายประหยัด แลสันกลาง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เขตอำเภอห้างฉัตร พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในพิธี

นายมานิตย์ กล่าวว่า “การแข่งขันครั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการตื่นตัวในการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาฝีมือแรงงานตนเองให้มากขึ้น และทัดเทียมกับมาตรฐานสากล โดยได้รับความร่วมมืออย่างดี จากหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมและสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติครั้งที่ 29 ระดับภาค กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และ ตาก จำนวน 25 สาขา

สำหรับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง มีการแข่งขันจำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาการเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ มีผู้แข่งขันจำนวน 26 คน สาขามาตรวิทยาด้านมิติ (ประเภททีม) จำนวน 17 ทีม หรือ 34 คน และสาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) จำนวน 6 ทีม หรือ 12 คนและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ ใช้สถานที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง แข่งขัน จำนวน 2 สาขา ได้แก่ สาขาต่อประกอบมุมไม้ และช่างไม้เครื่องเรือน ผู้ชนะการแข่งขัน ประเภททีม เหรียญทองจะได้รับเงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท เหรียญเงิน จำนวน 12,000 บาท และเหรียญทองแดง จำนวน 6,000 บาท ประเภทบุคคล เหรียญทองจะได้รับเงินราง 10,000 บาท เหรียญเงิน จำนวน 6,000 บาท และเหรียญทองแดง จำนวน 3,000 บาท และเกียรติบัตร ยังได้รับโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงแห่งชาติครั้งที่ 29 ระดับประเทศและการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนและนานาชาติด้วย

นายสันติ กล่าวว่า “การจัดการแข่งขันดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพทางด้านวิชาชีพ ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานไทยได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับมาตราฐานสากลส่งผลให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมในการยกฐานะทางเศรฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญยอมรับในความสามารถของเยาวชนไทยมากยิ่งขึ้น ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการคัดเลือกเยาวชนที่มีความรู้ และทักษะฝีมือ รวมทั้งความพร้อมในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเยาวชนจากหลายหน่วยงานที่เป็นผู้แทนจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง เคยประสบผลสำเร็จสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศมาแล้วมากมาย

ภาวินันท์ บุตรหล้า รายงาน