ระยอง-ภาคอุตสาหกรรมใช้บริการรถไฟส่งสินค้า แทน รถบรรทุก เพื่อลดปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุบนถนน

ระยอง-ภาคอุตสาหกรรมใช้บริการรถไฟส่งสินค้า แทน รถบรรทุก เพื่อลดปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุบนถนน

เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 14 มิ.ย.นายณรงค์ ชูสลับ นายสถานีรถไฟมาบตาพุด จ.ระยอง นายปัญญา ปะพุธสะโร ประธานกรรมการ บริษัท เก้าเจริญ เทรน ทรานสปอร์ต จำกัด และ นายชัยยุทธ มณีรัตน์ รองประธานฝ่ายโลจิสติกส์ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์สจำกัด(มหาชน)ได้ร่วมกันปล่อยขบวนรถไฟส่งสินค้า จากสถานีรถไฟมาบตาพุด ไปยัง สถานีรถไฟแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นเที่ยวแรก หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย รวมถึง สถานการณ์ประสบปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มกลับมาเป็นปกติ

นายปัญญา ได้กล่าวว่า การปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้า ซึ่งเริ่มเป็นขบวนแรก โดยเป็น การขนส่งเม็ดพลาสติก ของ บริษัท อินโดราม่าฯ จำนวน 60 ตู้คอนเทนเนอร์ นับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการช่วยลดปัญหาการจราจรบนท้องถนน และ การลดอุบัติเหตุ เพราะการขนส่งทางรางหนึ่งขบวนรถไฟ เท่ากับลดปริมาณรถบรรทุกลงไป จึงทำให้ความแออัดลดลงไปในระดับหนึ่ง โดยปัจจุบันเริ่มมีการขนส่งประมาณ 35-40 เปอร์เซ็น โดยมีเป้าหมายเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 80 เปอร์เซ็น ภายในปีนี้ เพื่อดึงภาคขนส่งบนถนนลงมาสู่ระบบราง

ด้านนายชัยยุทธ มณีรัตน์ รองประธานฝ่ายโลจิสติกส์ บริษัท อินโดรามาฯ ได้กล่าวว่า หลังจากเกิดปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ จนสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ การขนส่งทางรางในวันนี้จึงเป็นขบวนแรก ที่ทาง บริษัทอินโดรามาฯ ได้ร่วมกับ บริษัท เก้าเจริญ เทรน ทรานสปอร์ต จำกัด ในการขนส่งเม็ดพลาสติกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง เหตุผลที่เลือกใช้ระบบรางขนส่ง เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม ในการช่วยลดความแออัดบนถนน เพราะใช้ระบบรางหรือรถไฟในการขนส่ง เท่ากับรถการใช้รถบรรทุกบนถนน การจราจรบนท้องถนนก็จะคล่องตัวขึ้น และ เรื่องค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งทางบริษัทจะเพิ่มการใช้รถไฟในฟการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นต่อไป เพื่อเป็นรับผิดชอบต่อสังคม

นายณรงค์ ชูสลับ หัวหน้าสถานีรถไฟมาบตาพุด ได้ กล่าวว่า สำหรับการขนส่งทางราง รับเป็นอีกทางเลือก ทั้งภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการเกษตร ซึ่งทางสภานีรถไฟมาบตาพุด เป็นสถานีรถไฟสำหรับการขนส่งเท่านั้น ไม่มีการบริการในด้านโดยสาร โดยมีการขนส่งสินค้าไปทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็น อีกหนึ่งทางเลือกในการขนส่ง จึงสนับสนุนให้หันมาใช้การขนส่งผ่านระบบรางเพิ่มขึ้น หากหันมาใช้ระบบรางเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับลดการใข้รถบรรทุกลง จึงเป็นการช่วยลดปัญหาการจราจร และ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และ ยังลดต้นทุนอีกด้วย

 

ธีรวัฒน์ อินธิพันธ์ รายงาน