ปทุมธานี จัดงานวันสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจากพล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ประธานในพิธี

ปทุมธานี จัดงานวันสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจากพล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ประธานในพิธี

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 พล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ประธานจัดงานวันสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี และร.ต.อ.ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต พร้อมด้วยจากเครือข่ายต่างๆ โดยนายปกรณ์พัฒน์ เทพเอื้อตระกูล นายกสมาคมส่งเสริมการค้าธุรกิจท่องเที่ยว ปทุมธานี และนายภัสพลภ์ ชัยสุริยาทวิกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานี ร่วมกันจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 8 ซึ่งได้จัดต่อเนื่องประจำทุกปี พร้อมด้วยองค์กรเอกชน 10 องค์กรเนื่องจากธรรมชาติได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์และภัยธรรมชาติ ทำให้ทั่วโลกได้ตระหนักเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นการประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ที่ประเทศสวีเดน จุดเริ่มต้นครั้งนั้นได้รับความร่วมมือจาก 113 ประเทศทั่วโลก และมีผู้สังเกตการณ์ 1,500 คน จากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นการลงนามข้อตกลงให้จัดตั้ง โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เป้าหมายหลักก็คือเพื่อรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตของท้องถิ่นนั้นๆให้ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ดิน, น้ำ, อากาศ ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อาหารของชีวิต เราต่างต้องดูแลให้ปลอดภัย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ไว้ให้ลูกหลานในอนาคต ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดภัยพิบัติมากมาย ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะร่วมช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมกันแบบจริงจัง เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด


จึงต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศ น้ำสำหรับอุปโภค บริโภค และขยะมูลฝอย จึงได้รวมตัวกันดำเนินงานในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดปทุมธานี มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน โดยการจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์จากขยะ (คือเศษผัก ผลไม้ที่ไม่ใช้แล้ว) เพื่อแจกจ่ายให้สมาชิก หน่วยงานและประชาชนทั่วไป เพื่อเทในแม่น้ำลำคลองสาธารณะที่เน่าเสียและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค อันจะนำมาสู่มลภาวะทางอากาศ สายน้ำ นอกจากนี้ ยังได้ทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์เอนกประสงค์ เพื่อใช้ในการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้และเสื้อผ้าเพื่อลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน ทำให้ลดปริมาณน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลองได้ในระดับหนึ่ง และในขณะเดียวกัน ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้น้ำหมักจุลินทรีย์แทนการใช้สารเคมีควบคู่กันไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายการเฝ้าระวังการเน่าเสียของน้ำในแม่น้ำลำคลอง และในสถานที่ราชการ วัดและชุมชน เป็นต้น เมื่อพบว่ามีภาวะเสี่ยงในการสร้างมลพิษ เราก็จะนำน้ำหมักจุลินทรีย์ไปเทตามสถานที่เหล่านั้น เพื่อบรรเทาความเน่าเสีย และสัตว์น้ำสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้ สมาคมส่งเสริมการค้าธุรกิจท่องเที่ยวปทุมธานี ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานีและภาคีเครือข่ายจิตอาสาทั้ง 10 องค์กร จึงได้จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 8 ขึ้นในวันสำคัญของโลกเช่นนี้ขึ้นของจังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้


1. เพื่อสร้างจิตสานึกให้คิดเสมอว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีต้องเกิดจากตัวเรา
2 เพื่อสร้างจิตสานึกลดใช้สารเคมีในตรัวเรือน
3.เพื่อสร้างจิตสำนึกลดขยะด้วยมือเรา
เมื่อประชาชนได้ตระหนักเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบกและทางน้ำ และเล็งเห็นว่าแม่น้ำลำคลองมีความสำคัญมีเรื่องราวยาวนามานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และยังคงความมีเอกลักษณ์ของสายน้ำเช่นแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดปทุมธานีมีชาวมอญที่โยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งหลักปักฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และนำพาภูมิปัญญาเข้ามาผสมผสานด้วยความรักและผูกพันกับสายน้ำ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งแม่น้ำยังสร้างคุณค่า เกิดอาชีพเกษตร การปลูกข้าว ปลูกผักและอาชีพประมง รวมถึงยังได้อาศัยน้ำในการอุปโภค บริโภค ทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานีและสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี ได้ร่วมกันจัดงานOne Day Trip และงานเสวนา ” ปทุมธานี.. เสน่ห์ใกล้กรุง” และกำลังดำเนินการจัดการท่องเที่ยวสายน้ำ ฟื้นคลองหมายเลข 3 แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือเพื่อชมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของเมืองที่ผูกพันกับแม่ น้ำเจ้าพระยา มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของสายน้ำ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ทั้งวิถีชีวิตของชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นต่างๆ ปัจจุบันชุมชนริมสองฝั่งคลองยังคงใช้คลองเพื่อการสัญจรอยู่บ้าง อีกทั้งยังใช้งานในเชิงวัฒนธรรม เช่น การตักบาตรพระร้อยหลังวันออกพรรษาซึ่งพระสงฆ์ 100 รูปจะพายเรือมารับบาตรจากประชาชนและการละเล่นรำพาข้าวสาร ซึ่งเป็นกิจกรรมไฮไลต์จังหวัดปทุมธานีเลยทีเดียว ในการฟื้นคลองหมายเลข 3 แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่าของปทุมธานี หากทำได้สำเร็จก็จะเกิดเส้นทางยาว 26 กิโลเมตรรอบพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเกาะ ซึ่งมีขนาดเป็นสองเท่าของเกาะเมืองอยุธยา จะเกิดการท่องเที่ยวทางน้ำที่คืนชีวิตให้แก่ทั้งชุมชนและวัดที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา วันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เป้าหมายหลักคือร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ไว้ให้ลูกหลานในอนาคต จึงได้ ดำเนินงานในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดปทุมธานี เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สังคมเกิดความตื่นตัว ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ พืช สัตว์โดยทำแม่น้ำลำคลองให้สดใส ชุมชนร่วมใจรักษ์ ด้วยน้ำหมักชีวภาพ และร่วมปลูกต้นไม้เพื่อลดการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับโลกของเราต่อไป

ภาพ/ข่าว ทีมข่าว v.13 /รายงาน