อ่างทอง-ชาวไทยพวน สืบสานประเพณี”พิธีกำฟ้า บุญเดือน 3”อัญเชิญพญาแถน พญาคันคาก(คางคก) พระแม่โพสพ

อ่างทอง-ชาวไทยพวน สืบสานประเพณี”พิธีกำฟ้า บุญเดือน 3”อัญเชิญพญาแถน พญาคันคาก(คางคก) พระแม่โพสพ

 

 

เมื่อเวลา 09.00 น.ที่หมู่บ้านลาว วัดศุขเกษมธรรมิการาม ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พระกวีวรญาณ เจ้าอาวาสวัดศุขเกษมธรรมิการาม นายทศพล ศรีบัวเอี่ยม นายอำเภอไชโย ร่วมเป็นประธานสืบสานประเพณี”พิธีกำฟ้า บุญเดือน 3”โดยมีนางสาว มัณฑนา บุญประดับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทวราช นางนันทนถัส สังโยคะ ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านคนไทยเชื้อสายลาวเวียง หมู่ที่ 1 บ้านลาว ร่วมงาน
โดยภายในงานมีประเพณีมีการอัญเชิญพญาแถน พญาคันคาก(คางคก) พระแม่โพสพ รับเครื่องสังเวย มีการเผาข้าวหลาม จำนวน 500 กระบอก และปิ้งข้าวจี่ แจกจ่ายผู้ร่วมงาน พร้อมพิธีบายศรีสู่ขวัญพระแม่โพสพ โดยมีหมอธีระโรจน์ และหมอชุติมา เด่นชาดก เป็นผู้อัญเชิญ

 

โดยชาวบ้านลาวตำบลเทวราช เป็นชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อชาติมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว (สปป) ซึ่งอพยพมาเมื่อประมาณ 300กว่าปี มีอาชีพ ทำนาเป็นส่วนมาก เพราะฉะนั้น เมื่ออพยพมาสิ่งที่ติดตัวมา ด้วยก็เป็นความเชื่อและพิธีกรรม ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ที่ลูกหลานนำสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน มี ประเพณีที่กระทำอย่างต่อเนื่อง คือ การไหว้ศาลพ่อศรสุริยวงศ์ ซึ่งกำหนดจัดขึ้น วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6และ ประเพณีบุญกำฟ้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
คำว่า “กำฟ้า” เป็นประเพณีของชาวไทยพวนในจังหวัดต่าง ที่มีชาวพวนอาศัยอยู่ได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ “กำ” ในภาษาไทยพวน หมายถึง การนับถือและสักการะบูชา ดังนั้น กำฟ้า จึงหมายถึง ประเพณีนับถือ สักการะบูชาฟ้า

 

เนื่องจากชาวพวนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะ การทำนา ในสมัยดั้งเดิมการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ชาวนาในสมัยนั้นจึงมีการเกรงกลัวฟ้ามาก ไม่กล้าที่จะทำอะไรให้ฟ้าพิโรธ ถ้าฟ้าพิโรธย่อมหมายถึง ความแห้งแล้ง อดยาก หรือฟ้าอาจผ่าคนตาย ประชาชนกลัวจะได้รับความทุกข์ยากอันเป็นภัยจากฟ้า จึงมีการเซ่นสรวง สักการะบูชาผีฟ้า ทั้งนี้ เพื่อเป็น การเอาใจ มิให้ฟ้าพิโรธ หรืออีกนัยหนึ่ง ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมนั้น รู้สึกสำนึกใน บุญคุณของผีฟ้าที่ได้ให้น้ำฝน อันหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ มีชีวิตของคน สัตว์ และพืชพันธุ์ ต่างๆ จึงได้เกิดประเพณีกำฟ้าขึ้น เพื่อเป็นการประจบผีฟ้าไม่ให้พิโรธ และเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพยาดาแห่งท้องฟ้าหรือผีฟ้า ดังกล่าวมาแล้ว กิจกรรม

   

ประกอบพิธี ตั้งบายศรีบูชาฟ้าและประกาศขอพรจากเทพยาดาที่รักษาท้องฟ้า หรือผีฟ้า ตามประเพณี นั้น “วันสุกดิบ” อันเป็นวันเตรียมงาน ก็จะมีขนมจีน ข้าวหลาม ข้าวจี่ เพื่อนำไปเช่นผีฟ้า การเผาข้าวหลาม ทิพย์จะทำบริเวณลานวัด พระสงฆ์ทำพิธีเจริญพุทธมนต์ ในปะรำพิธีที่จัดเตรียมไว้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่มี ความรู้ด้านการประกอบพิธี จะทำหน้าที่พราหมณ์สวดเบิกบายศรี บูชาเทพยาดา ผีฟ้าแล้วอ่านประกาศ อัญเชิญเทวดาให้มารับเครื่องเซ่นสังเวย มารับรู้พิธีกรรม บางท้องที่มีการรำขอพรจากฟ้าเสร็จพิธีแล้วต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน ตกกลางคืนก่อนเข้านอน คนแก่คนเฒ่าจะเอาไม้ไปเคาะที่เตาไฟแล้วกล่าวคำพูดอันเป็น มงคลในทำนองที่ให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน ช่วยมาปกป้องรักษาคนในครอบครัวให้มีความอยู่ดีมีสุข ให้ข้าวปลา อาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ เช้าขึ้นเป็นวันกำฟ้า ทุกคนในบ้านรีบตื่นแต่เข้าตรู่ เตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรั ไปถวายพระที่วัด ใส่บาตรพระด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะสังสรรค์ ด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน

สุรชัย ผลจันทร์/อ่างทอง/089-6066364