“อลงกรณ์“วิเคราะห์การเมืองไทยปี2568 ผันผวน-เปราะบางจาก“ 3 ปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัยส่ง“ห่วงเกิดขัดแย้งก่อวิกฤติครั้งใหม่ซ้ำเติมประเทศ

“อลงกรณ์“วิเคราะห์การเมืองไทยปี2568 ผันผวน-เปราะบางจาก“ 3 ปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัยส่ง“ห่วงเกิดขัดแย้งก่อวิกฤติครั้งใหม่ซ้ำเติมประเทศ

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรีและรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ปัจจุบันเป็นประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์เขียนบทความในเฟสบุ๊ค“อลงกรณ์ พลบุตร”ในหัวข้อ“การเมืองไทยปี2568ผันผวนและเปราะบาง: ไฟสุมขอน 3 ปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัยส่งสู่วิกฤติครั้งใหม่“
โดยแสดงความกังวลถึงตัวแปรความขัดแย้งอาจเป็นชนวนวิกฤติครั้งใหม่ซ้ำเติมประเทศในปีหน้าไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
“…เรากำลังก้าวข้ามปี 2567 สู่ปี 2568
ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสและความหวังเมื่อเข้าสู่ปีใหม่ แต่ในมุมมองของผม สถานการณ์ปีใหม่ผันผวน-เปราะบางกังวลว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหม่เสมือนไฟสุมขอนที่จะปะทุในปีหน้าอาจนำประเทศกลับสู่วิกฤติอีกครั้งหนึ่ง
”3 ปัจจัยเสี่ยง”ได้แก่
1.ปัญหาเอ็มโอยู.ไทย-กัมพูชา พ.ศ.2544 (MOU44)
2.ปัญหาที่ดินเขากะโดงาน
3.ปัญหานักโทษทิพย์ ชั้น 14
โดยเฉพาะกรณีเอ็มโอยู.44 เป็นประเด็นปัญหาในวงกว้างบ่มความรู้สึกของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยซึ่งพร้อมจะชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในต้นปีหน้าหากรัฐบาลยังเดินหน้าเรื่องนี้
นอกจากนี้ยังมี”4 ปัจจัยส่ง“เสมือนฟืนที่สุมในกองไฟเพิ่มอุณหภูมิของปัญหาให้ร้อนแรงมากขึ้นยิ่งขึ้นได้แก่
1.ประเด็นเศรษฐกิจปากท้อง
2.ประเด็นการนิรโทษกรรม
3.ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ
4.ปัญหาการกลับประเทศของอดีต
นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
“สถานการณ์การเมืองปลายปี2567ส่งสัญญาณให้เห็นถึง
การกลับมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
ในปี2568 ซึ่งความขัดแย้งครั้งใหม่มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้าและความรุนแรงหากเกิดบานปลายจะกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรวมทั้งความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ
รัฐบาลมีหน้าที่ถอนฟืนไม่ใช่ใส่ฟืนในกองไฟอย่าทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนในอดีต ปัจจุบันรัฐบาลมีเสียงในสภามากถึง322เสียงจาก493เสียงย่อมมีความมั่นคงแต่อย่าประมาทเพราะบทเรียนปี2549รัฐบาลมีเสียงข้างมากเด็ดขาดแต่ก็ไปไม่รอด
นายอลงกรณ์ยังเสนอแนะด้วยว่า
หนทางคลี่คลายปัญหามิให้บานปลายอยู่ที่ตัวรัฐบาลเองโดยต้อง
ยึดหลักนิติรัฐ ธรรมาภิบาลและสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ”.

 

ตามญัตติการซักฟอกจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจใคร ระหว่าง “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รองนายกฯ รมว.คมนาคม กับ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ รมว.มหาดไทย เพราะไม่ว่าจะซักฟอกใคร เสียงที่จะยกมือไว้วางใจ-ไม่ไว้วางใจ อยู่ในซีกเดียวกัน คงทำใจลำบาก
ดังนั้นหลังศึกซักฟอก การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี “แพทองธาร 2” ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน อยู่ที่ “นายใหญ่” จะเดินเกมอย่างไร
เกิดการยุบสภาหรือรัฐประหาร