คณะกรรมการบริหารสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“ทิศทางและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ ระยะเวลา 4 ปี

คณะกรรมการบริหารสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“ทิศทางและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ ระยะเวลา 4 ปี

 

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมกำหนด “ทิศทางและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ระยะเวลา 4 ปี (2567 – 2570) ”
รวมระยะเวลา 2 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 18 – 20 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมบางกอก พาเลส ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

 

วัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยได้ เพื่อให้คณะกรรมการประจำภาค/เขต  มีแนวทางในการนำยุทธศาสตร์ของสมาคมฯไปดำเนินการในพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เพื่อให้สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยมียุทธศาสตร์การดำเนินงานของตนเอง ในระยะเวลา 4 ปี (2567 – 2570)  โดยแบ่งเป็นด้านต่างๆ เช่น ด้านการบริหารองค์กร  ด้านการพัฒนาบุคลากร  ด้านการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ  ด้านข้อมูลฐานสมาชิกรายบุคคลและสมาชิกองค์กร เป็นต้น   เนื่องจากสมาคมฯจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯทุก 4 ปี

 

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน  449 คน รายละเอียดดังนี้
1. กรรมการบริหารสมาคมฯ 15 คน
2. กรรมการที่ปรึกษาสมาคมฯ  4 คน
3. ที่ปรึกษาสมาคมฯ 15 คน
4. คณะกรรมการประจำภาคเหนือ/ผู้แทน 17 คน
5. คณะกรรมการประจำภาคกลาง/ผู้แทน 11 คน
6. คณะกรรมการประจำภาคอีสาน/ผู้แทน 16 คน
7. คณะกรรมการประจำภาคตะวันออก/ผู้แทน  6 คน
8. คณะกรรมการประจำภาคใต้/ผู้แทน  9 คน

   
9. คณะกรรมการประจำเขตกรุงเทพมหานคร/ผู้แทน  8 คน
10. คณะกรรมการชมรมตะวันทอแสง  7 คน
11. ที่ปรึกษาของแต่ละภาค/เขต 10 คน
12. แกนนำเครือข่ายภาค/เขต(155 ชมรม x 2 คน)  310 คน
13. ผู้สังเกตการณ์  2 คน
14. วิทยากร  9 คน
15. คณะทำงาน 10 คน

   
แบ่งเป็นการอบรมเป็น 2 ห้อง ห้องที่ 1 จำนวน 100 คน  กิจกรรมทำแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมฯ ห้องที่ 2 จำนวน 300 คน   กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำชมรม  เครือข่าย  ลดความรุนแรงในครอบครัว องค์กร และสังคม
จากโครงการคาดว่า คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ คณะกรรมการประจำภาค/เขต และแกนนำเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยได้ รวมถึงมีแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับภาค/เขตได้ โดยมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย