ฉะเชิงเทรา- กปภ.เปิดเวทีศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานที่กำหนดตามสัญญาเดิม ที่เอกชนคู่สัญญาสามารถใช้สิทธิขยายระยะเวลาทั้ง 3 ฉบับ โดยศึกษาแยกเป็นรายพื้นที่

ฉะเชิงเทรา- กปภ.เปิดเวทีศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานที่กำหนดตามสัญญาเดิม ที่เอกชนคู่สัญญาสามารถใช้สิทธิขยายระยะเวลาทั้ง 3 ฉบับ โดยศึกษาแยกเป็นรายพื้นที่

 

 

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการน้ำประปาที่สะอาดและมีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนปัจจุบัน กปภ. มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุม 74 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการและพื้นที่หน่วยงานปกครองส่วน ท้องถิ่น เช่น การประปาเทศบาล การประปาองค์การบริหารส่วนตำบล การประปาหมู่บ้าน เป็นต้น) โดยมีพันธกิจ หลักในการสำรวจ จัดหาแหล่งน้ำดิบและจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาที่มี คุณภาพอย่างเพียงพอและทั่วถึง รวมถึงดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปา

 

โดยคำนึงถึง ประโยชน์ของรัฐและสุขอนามัยของประชาชนี้เป็นสำคัญการลงทุนก่อสร้างระบบผลต่น้ำประปาเพื่อให้บริการแก่ประชาชนและเพื่อรองรับการเติบโตของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจเป็นการลงทุนในสาธารณปโภคขั้นพื้นฐานที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยในปี 2543 กปภ. ได้มี แนวทางการดำเนินงานที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในกิจการประปา เพื่อตอบสนอง ความต้องการนำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภคของประชาชน รวมถึงลดข้อจำกัดในด้านการลงทุนของ กปภ. โดยได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายน้ำประปาในพื้นที่ให้บริการกปภ.สาขาบางปะกง กปภ. สาขาฉะเชิงเทรา และกปภ.สาขานครสวรรค์ ระยะเวลาสัญญา 25 ปี โดยมีการเริ่มซื้อขายน้ำประปาในปี 2546 ซึ่งสัญญาทั้ง 3 ฉบับจะ สิ้นสุดในปี 2571

 

ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง กปภ. จึงจำเป็นต้องศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการดำเนินงานภายหลังสิ้นสุดสัญญาในพื้นที่ให้บริการกปภ. สาขาบางปะกง กปภ.สาขาฉะเชิงเทรา และกปภ.สาขานครสวรรค์ โดยศึกษาแนวทาง/ทางเลือกที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลการศึกษาเพิ่อเสนอทางเลือกในการดำเนินงานที่มีความเหมาะสมแกบูรบทของ กปภ. มากที่สุด ทั้งในกรณีที่ 1) กรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิขยายระยะเวลาตามที่กำหนดในสัญญา กรณีที่ 2) กปภ. ดำเนินการเอง กรณีที่ 3) กปภ. ดำเนินการโดยจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกรณีที่

 

4) การให้เอกชนร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขและขอบเขตที่กำหนดภายใต้สัญญาเดิมที่เอกชน คู่สัญญาสามารถใช้สิทธิขยายระยะเวลาตามที่กำหนดในสัญญา รวมทั้งศึกษาถึงเงื่อนไข/ข้อจำกัด/ผลกระทบจาก ปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อพิจารณาการเติบโตของความต้องการใช้น้ำและการให้บริการรองรับความต้องการใช้ น้ำในแต่ละพื้นที่ที่เพียงพอในอนาคต เพื่อกำหนดขอบเขตของโครงการใหม่ และเพื่อที่กปภ. จะได้จัดเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป.