มุกดาหาร-เทคโนโลยีการเกษตรรูปแบบใหม่ FIELD DAY ผู้ปลูกมันสำปะหลัง 6,800ราย พื้นที่ 65,200 ไร่ ผลผลิตปีละ 250,000 ตัน

มุกดาหาร-เทคโนโลยีการเกษตรรูปแบบใหม่ FIELD DAY ผู้ปลูกมันสำปะหลัง 6,800ราย พื้นที่ 65,200 ไร่ ผลผลิตปีละ 250,000 ตัน

วันที่ 6 มีค 67 นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราขการจังหวัดมุกดาหาร ประธานเปิดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY” ณ บริเวณ PQS Farm โดย บริษัท พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด (มหาชน) หรือ PQS ผู้ผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (Premium Grade) และแป้งดัดแปร (Modified Starch) จับมือพันธมิตร เช่น คูโบต้า – อายิโนะโมะโต๊ะ – หน่วยงานภาครัฐ – สถาบันการศึกษา ร่วมเปิดงาน สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดมุกดาหาร เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตมันสำปะหลังแก่เกษตรกร โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของจังหวัดมุกดาหาร


นายรัฐวิรุฬห์ ชาญจึงถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด (มหาชน) หรือ PQS กล่าวว่า กิจกรรมสาธิต การใช้เครื่องจักรกลเกษตรเพื่อบริหารจัดการแปลงปลูกมันสำปะหลัง ทั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมความยั่งยืนในระบบนิเวศน์เกษตร สำหรับเกษตรกรผู้ที่สนใจ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท PQS เป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร ด้วยวัตถุดิบหัวมันสำปะหลังที่มีคุณภาพจากพื้นที่ในจังหวัดมุกดาหาร และพื้นที่ใกล้เคียงมากกว่าปีละ 250,000 ตัน โดยเกษตรกรกว่า 6,800 ครอบครัว บนพื้นที่ประมาณ 65,200 ไร่ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตแป้งมันสำปะหลังมาร่วม 20 ปี ที่มุ่งมั่นเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องในระดับอาเซียน


นายรัฐวิรุฬห์ ชาญจึงถาวร กล่าวต่อว่า การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงแปลงสาธิตการใช้เครื่องจักรกลเกษตร ด้านการจัดการแปลงปลูกมันสำปะหลัง ทั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้สนใจ ที่ต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังแบบครบวงจร โดยมีกิจกรรมการให้ความรู้ จากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ฐานปรับปรุงดิน ฐานเครื่องทุ่นแรงฟาร์ม ฐานพันธุ์มันสำปะหลัง ฐานการจัดการและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง และฐานอารักขาพืช เกษตรกรที่จะสามารถเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่รวมทั้งเครื่องบินโดรนให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการเพาะปลูกแก่กลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้มีความมั่นคงต่อไป