ขอนแก่น – “NAT” เดินหน้าให้ข้อมูลนักลงทุน จ.ขอนแก่น โชว์ศักยภาพธุรกิจ โอกาสเติบโตสูง

บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT ผู้เชี่ยวชาญด้าน Infratech  ส่วนงานโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ผนึก APM – FSS เดินสายโรดโชว์นำเสนอข้อมูลธุรกิจ และ ข้อมูลทางการเงิน แก่นักลงทุน 10 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15 – 26 ม.ค. 2567 ที่ปรึกษาการเงิน มั่นใจพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง นักลงทุนให้ความสนใจ ก่อนเตรียมขายไอพีโอ 92 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai

 

เมื่อค่ำวันที่ 19 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT ผู้เชี่ยวชาญด้าน Infratech  ส่วนงานโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ผนึก APM – FSS เดินสายโรดโชว์นำเสนอข้อมูลธุรกิจ และ ข้อมูลทางการเงิน แก่นักลงทุน 10 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15 – 26 ม.ค. 2567 ที่ปรึกษาการเงิน มั่นใจพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง นักลงทุนให้ความสนใจ ก่อนเตรียมขายไอพีโอ 92 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai

โดยมี นายสุธี อภิชนรัตนกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT พร้อมด้วยดร.สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ที่ปรึกษาทางการเงิน,นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ที่ปรึกษาทางการเงิน,นายมุฒิชัย อรุณเรืองอร่าม ผู้อำนวยการฝ่าย บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ที่ปรึกษาทางการเงิน ,นายภควัฒน์ ตุลยนิติกุล ผู้อำนวยการ


บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จํากัด (มหาชน) หรือ FSS ในฐานะแกนนำการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ร่วมนำเสนอข้อมูลรายละเอียดหลักทรัพย์แก่นักลงทุน จ.ขอนแก่น โดย NAT มีแผนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 92 ล้านหุ้นและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)


นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลกับนักลงทุน หรือโรดโชว์ เพื่อเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก หรือ IPO  จำนวน 92 ล้านหุ้น โดยมีกำหนดการเดินทางทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครปฐม ราชบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 26 มกราคม 2567


ด้าน นายภควัฒน์ ตุลยนิติกุล ผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จํากัด (มหาชน) หรือ FSS ในฐานะแกนนำการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน กล่าวว่า บริษัทมั่นใจว่าจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากนักลงทุน เพราะ NAT ถือเป็นธุรกิจที่มีความโดดเด่น เนื่องจากมูลค่าตลาดของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ระบบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ในระดับองค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูง ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นฐานลูกค้าของ NAT ต่างมีแผนปรับปรุงระบบเพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นโอกาสของบริษัทที่จะนำเสนอสินค้า บริการ และ โซลูชันทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าการเติบโตได้อีกมาก ปัจจุบันบริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT มีทุนจดทะเบียน 164 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท และ มีทุนที่เรียกชำระแล้ว 118 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 92 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 28.05% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัท และ จะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)


ตบท้ายที่ นายสุธี อภิชนรัตนกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Infratech มุ่งเน้นการประกอบธุรกิจบริการให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา จำหน่ายอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง และ รับเหมาวางระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology System Integration) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับโลก และให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น บริการเจ้าหน้าที่ไอที (IT Outsourcing) บริการเดินสายระบบเน็ตเวิร์ค (Cabling System) บริการงานด้านระบบภายในอาคาร (Mechanical and Electric : M&E) และ บริการให้เช่าอุปกรณ์ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับใช้ภายในสำนักงาน


ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทที่เป็นหน่วยงานภาครัฐโดยมีสัดส่วนประมาณ 85% ที่มีแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทเติบโต และ มีความสามารถในการทำกำไรให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ขณะที่ผลประกอบการย้อนหลังช่วงปี 2563 – 2565 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 492.64 ล้านบาท 451.36 ล้านบาท และ 1,093.23 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 56.78 ล้านบาท 26.68 ล้านบาท และ 100.62 ล้านบาท ตามลำดับ โดยบริษัทมีรายได้เติบโตเป็นไปตามแผนจากการเข้ารับงานภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทมีรายได้รวม 1,232.71 ล้านบาท กำไรสุทธิ 97.50 ล้านบาท หลังจากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะสามารถขยายธุรกิจและให้บริการ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และ การเข้ารับงานโครงการต่าง ๆ กับกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้บริษัทมีความพร้อมในการนำเสนอข้อมูลให้แก่นักลงทุนทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจในธุรกิจและการเติบโตของบริษัท รวมถึงแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และความต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค Digital Transformation ได้เป็นอย่างดี.