ฉะเชิงเทรา-เดือดร้อนหนักตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งพร้อมบุกพบธรรมนัส

ฉะเชิงเทรา-เดือดร้อนหนักตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งพร้อมบุกพบธรรมนัส

 

จากกรณีประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีใหม่และมีรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆแล้วนั้น ปัญหาที่ค้างคามาตั้งแต่ช่วงโควิดเกี่ยวกับด้านการเกษตร โดยภาคตะวันออกและจังหวัดฉะเชิงเทรานั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่างได้รับผลกระทบขาดทุน โดยได้รับผลกระทบทั้งเรื่องค่าขนส่ง ค่าอาหาร ค่าไฟ ฟ้า ประจวบกับภาวะสงครามทำให้มีผลต่อรายได้ต้นทุนในการประกอบอาชีพโดยอยากให้ทางนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือสิ่งที่ทำได้ัทันทีไม่ใช่ปล่อยให้เกษตกรผู้เลี้ยงกุ้งอยู่ในภาวะเช่นนี้


เวลา 10.00 น. วันที่ 2 ก.ย. 66 นายสมประสงค์ เนตรทิพย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย (เสื้อขาว)
กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองถือเป็นตัวแทนผู้เลี้ยงกุ้งภาคตะวันออก เวลานี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อนอย่างหนัก พร้อมพาแกนนำไปพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันที่ 5 นี้ และต้องการเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยโดยด่วนแนะรัฐบาลปัจจุบันสามารถทำได้เลยโดยตนเองเสนอเบื้องต้นสี่แนวทางในการแก้ปัญหาเช่น
1.ปัญหาต้นทุนในการใช้พลังงานในการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใช้ไฟฟ้าราคาเท่ากับภาคอุตสาหกรรมดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาให้เกษตรกรได้ใช้อัตราค่าไฟที่ถูกกว่าเช่นเมื่อก่อนนี้ก็ประมาณ 3 บาทเพราะ เรื่องพลังงานนี่เป็นต้นทุนจาก 15% เป็น 25% ของในการเลี้ยงกุ้ง


2.เรื่องราคาอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้ง อยากจะให้ภาครัฐได้ปลดล๊อคการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตอาหารซึ่งราคาในต่างประเทศจะถูกกว่าเช่นถั่วเหลืองและปลาป่นซึ่งจะทำให้ในการผลิตอาหารของบริษัทมีต้นทุนที่ต่ำลงและจะทำให้ราคาอาหารที่เกษตรกรจะนำมาเลี้ยงกุ้งนั้นมีราคาถูกตามลงไปด้วย
3. อยากให้รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศมีการบริโภคกุ้งมากขึ้นเช่นในการจัดเทศกาลต่างๆของในประเทศไทย ปัจจุบันคนไทยกินกุ้งเฉลี่ยปีละประมาณหนึ่งกิโลกว่าต่อคนถ้าสนับสนุนให้ส่งเสริมให้ประชาชนได้กินกุ้งหรือสัตว์น้ำประเภทอื่นเฉลี่ยต่อคน 2-4 กิโลกรัมต่อปีก็จะทำให้ ราคากุ้งหรือราคาสัตว์น้ำต่างๆมีราคาสูงขึ้นโดยธรรมชาติ.


ด้านนายชาลี จิตต์ประสงค์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดฉะเชิงเทรา (เสื้อนำ้เงิน) กล่าาว่าขณะนี้ราคากุ้งของตลาดโลกและของไทยมีการผันผวนราคาลดลงมากกว่าปีที่ผ่านๆมาเนื่องจาก เกิดภาวะสงครามส่วนหนึ่งและตั้งแต่มีโรคระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา การขนส่งมีปัญหาทำให้เกษตรกรหยุดการเพาะเลี้ยงไปส่วนหนึ่ง และขณะนี้ประสบกับปัญหาต้นทุนในการเลี้ยงที่สูงขึ้นทั้งค่าหารค่าพลังงานโดยขอวิงวอนรัฐบาลชุดใหม่อยากให้ช่วยลดต้นทุน อยากให้แยกราคาค่าไฟฟ้าระหว่างเกษตรกรกับภาคอุตสาหกรรมให้มีความแตกต่างกัน และอีกปัญหาหนึ่งที่เจอคือโรคในกุ้งซึ่งต่างประเทศเมื่อก่อนนี้เขาก็ประสบปัญหาเรื่องโรคกุ้งเหมือนกับบ้านเราแต่เขาสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับ ภูมิประเทศของเขาซึ่งตรงนี้อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือในการปรับปรุงสายพันธุ์ให้เกษตรกรได้เลี้ยงให้มีอัตราการรอดมากขึ้นกว่าในปัจจุบันเพราะถ้าลงทุนแล้วเกิดมีโรคระบาดในกุ้งหรือ พันธุ์กุ้งไม่ทนต่อโรคที่มีอยู่ก็จะเสียหายทั้งหมด ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรหมดไป


นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย (เสื้อฟ้าใส่แว่น)
กล่าวว่าในฐานะที่ตนเองเป็นผู้เพราะเลี้ยงลูกกุ้ง(นอเพียร์ซ) ซึ่งถือว่าเป็นต้นน้ำในการเลี้ยงกุ้งก็พยายามจะพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของประเทศไทยที่กลุ่มเกษตรกรนำไปเลี้ยงซึ่งตนเองอยากขอให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนในการพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมในการที่จะให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงแต่ละพื้นที่ โดยให้มีความทนต่อโรค โตเร็วมีอัตราการรอดสูง เพราะว่าภาครัฐมีนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถดูแล้วน่าจะร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์ได้ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศเอลซัลวาดอร์ที่เคยประสบปัญหาโรคกุ้งตัวแดงต้องหยุดเลี้ยงไปประมาณ 3 ปีและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่และในปีหน้านี้ทางประเทศเอลซัลวาดอร์ประกาศแล้วว่าจะผลิตกุ้งส่งออกให้ได้ถึง 2 ล้านตัน ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้นจะยิ่งทำ ให้ราคากุ้งทั่วโลกผันผวนและราคาตกต่ำยิ่งกว่าในปัจจุบัน ฉะนั้นจึงอยากให้ภาครัฐช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งระบบและทั่วประเทศโดยเร็ว.