รัฐมนตรีแรงงาน เตรียมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อขึ้นค่าแรง-ของผู้ใช้แรงงาน และจะให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงที่มีส่วนร่วมในการ ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ของประเทศ

รัฐมนตรีแรงงาน เตรียมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อขึ้นค่าแรง-ของผู้ใช้แรงงาน และจะให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงที่มีส่วนร่วมในการ ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ของประเทศ

 

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงเรื่องแนวทางในการบริหารกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน ที่เป็น ลูกจ้าง และ เจ้าของ กิจการ ที่เป็น นายจ้าง ว่า ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามานั่งทำหน้าที่ รัฐมนตรี ของกระทรวงแรงงาน ก็มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนากระทรวงแรงงานให้เกิดประโยชน์ที่สุด เพราะกระทรวงแรงงานเป็นเหมือน โซ่ข้อกลาง ระหว่าง ผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นคนส่วนใหญ่ในภาค อุตสาหกรรม การผลิตและอื่นๆ กับภาคส่วนที่เป็น นายจ้าง เจ้าของ กิจการ

 

ตั้งแต่รายเล็กๆ และ เอสเอ็มอี จนถึง อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กระทรวงแรงงานจึงเป็นโซ่ข้อกลาง หรือ คนกลาง ที่เป็น ฟันเฟื่อง ในการ ขยับขับเคลื่อน ให้ทั้งสองส่วนไปด้วยกันได้ กระทรวงแรงงาน ต้องเป็นผู้ชี้นำ ตาม นโยบายของกระทรวงฯในปี 2567 ที่ว่า “ ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ “ ดังนั้น เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการ เน้นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดี ให้เกิดกับ ผู้ใช้แรงงาน


โดยเฉพาะในเรื่อง การขึ้นค่าแรงของผู้ใช้แรงงาน ที่มีการเรียกร้องมาโดยตลอด ซึ่ง รัฐบาล และ กระทรวงแรงงาน ทราบปัญหาดีว่า ค่าแรง ณ วันนี้ ซึ่งอยู่ที่วันละ 300 กว่าบาท เป็นค่าแรงที่เป็นปัญหากับค่าครองชีพ แต่อยู่ๆ เราจะประกาศขึ้นค่าแรงตามข้อเรียกร้องไม่ได้ ต้องมีการหาวิธีการ หาจุดสมดุลเพื่อให้เป็นการ อยู่ได้ และ รับได้ ของทั้งผู้ใช้แรงงาน และผู้เป็น นายจ้าง การขึ้นค่าแรงที่ นายจ้าง รับไม่ได้ นอกจากนายจ้าง โดยเฉพาะ เอสเอ็มอี ครึ่งหนึ่งของประเทศ อาจจะต้องปิดกิจการแล้ว ยังทำให้ แรงงาน มีการ ตกงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่สร้างปัญหา ให้กับทั้ง”นายจ้าง” และ”ลูกจ้าง” ได้รับผลกระทบไปพร้อมๆกัน

การขึ้นค่าแรง ไม่ใช่ขึ้นไม่ได้ แต่ต้องมีการ พัฒนาฝีมือแรงงานชั้นสูงเสียก่อน เพื่อการรองรับการจ่ายค่าจ้างตามความแหมาะสมของการปฏิบัติงาน ซึ่งในกรณีอย่างนี้ นายจ้าง รับได้ และนอกจากนั้นกระทรวงแรงงานยังมีการ “อัพสกิล” หรือ (UP-skill for More Earm ) เพื่อการมีงานทำ เพื่อรองรับเศรษฐกิจใหม่ ที่จะมีจากการที่ รัฐบาล จะ ขับเคลื่อน ปัญหาของเศรษฐกิจ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกระทรวงแรงงาน กำลังดำเนินการในทั้ง 2 ไปพร้อมๆกัน

และการขึ้นค่าแรงต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และที่สำคัญต้องเป็นธรรม ทั้งลูกจ้าง และ นายจ้าง รวมทั้ง แรงงานต่างด้าว และ แรงงานไทย ต้องมีความเท่าเทียม การเข้ามาทำหน้าที่ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน แม้จะเป็นงานใหม่ แต่ไม่หนักใจ เพราะมีพื้นที่มาจาก กาทำธุรกิจ การค้า มาตั้งแต่ต้น จึงเข้าใจผู้ใช้แรงงานที่เป็นลูกจ้าง และเข้าใจผู้ที่เป็น นายจ้าง เป็นอย่างดี เชื่อว่าการขึ้นค่าแรงต้องมีการ ขยับ อย่างแน่นอน แต่เป็นการ ขยับ ที่เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของ กลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการให้ได้ตามตัวเลขที่ทำตามไม่ได้ รัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน กล่าวท้ายสุด

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา