เชียงใหม่-วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มช.ร่วมกับสถาบันขงจื่อ จัดเสวนาการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาบุคลากรขั้นสูงภาษาไทย-จีน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน

เชียงใหม่-วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มช.ร่วมกับสถาบันขงจื่อ จัดเสวนาการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาบุคลากรขั้นสูงภาษาไทย-จีน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน

วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( CAMT ) ร่วมกับสถาบันขงจื่อ เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับการพัฒนาบุคลากรขั้นสูง โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 ได้ร่วมกันก่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน) โดยอาศัยเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มอล ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในระดับอุดมศึกษาและวิสาหกิจจีน-ไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากนักศึกษาและวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง

จากการพัฒนาบุคลากรร่วมกันของทั้งสองประเทศสนับสนุนและสร้างโอกาสเข้าร่วมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและโอกาสในการทำงานหลังจบการศึกษาด้วยทักษะของบัณฑิตที่มีความโดดเด่นสามารถสื่อสารได้ทั้งสองคือภาษาจีนและภาษาไทย มีความรู้เฉพาะทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และทักษะการปฏิบัติงานเชิงดิจิทัลอย่างเชี่ยวชาญเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรขั้นสูง วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถาบันขงจื่อ หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

และกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง จึงได้กำหนดจัดการเสวนาสุดยอด “บุคลากรขั้นสูงภาษาจีน-ไทย+” ในความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม การศึกษาและการวิจัย ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาบุคลากรขั้นสูงและตอบสนองความต้องการบุคลากร “ภาษาไทย-จีน +พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” “Thailand-China CBEC” Workforce Development Forum เพื่อยกระดับการพัฒนาบุคลากรขั้นสูงทั้งสองประเทศ โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการในขอบเขตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของประเทศจีนและประเทศไทย

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงานในครั้งนี้ รวมถึงผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพญ.วรกัญญา บูรณพัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Prof. Wang Deqiang อธิการบดีมหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มอล กล่าวสนับสนุนโครงการ

ตลอดจนบริษัทชั้นนำที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน เข้าร่วมการเสวนาสุดยอดดังกล่าวเพื่อแบ่งปันข้อมูลและอภิปรายแบบโต๊ะกลมร่วมกัน ซึ่งการเสวนารูปแบบ      ออนไซต์ และถ่ายทอดสดบนแพลตฟอร์มจีนและไทย บนแพลตฟอร์ม Facebook, Youtube และ Bilibili ในวันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม 201 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITSC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ ผู้บริหารหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล สาขาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของ CAMT เผยว่า การสร้างบุคลากรที่รู้ภาษาไทย-จีน และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคลากรสำคัญต่อการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคเหนือที่มีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์เพราะเป็นประตูการค้าทางบกที่สำคัญระหว่างจีนกับอาเซียน โดยมีการสนับสนุนเปิดกว้างทั้งทางด้านการค้าในรูปแบบเขตการค้าเสรีและการเชื่อมต่อด้านระบบโลจิสติกส์ระหว่างกัน

ตลอดจนความสำคัญในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำให้จีนให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือกับประเทศไทยในมิติต่างๆผ่านยุทธศาสตร์ “ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ Belt Road Initiative (BRI) ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ Northern Economic Corridor หรือ NEC ของประเทศไทยที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือผ่านการสร้างความร่วมมือทางการเศรษฐกิจ การค้า และโลจิสติกส์กับกลุ่มประเทศสมาชิกแม่โขง-ล้านช้างอันประกอบไปด้วย ไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม ลาว และจีน เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ภาคเหนือจาก “Land lock” สู่ “Land link” ซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในพื้นที่ให้มีทักษะด้านภาษา การค้า และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับกับโอกาสดังกล่าว

กิจกรรมเสวนาในวันนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างบุคลากรด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีทักษะเชิงดิจิทัลเพื่อการค้า และทักษะด้านภาษาไทย-จีน ของหลักสูตร DTM CBEC ของ CAMT รวมไปถึงการนำเสนอคุณลักษณะของบัณฑิตที่ทางบริษัทเอกชนทั้งที่เป็นบริษัทไทยและบริษัทจีนในประเทศไทยต้องการ เพื่อเป้าหมายการสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ทั้งในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระดับ ปวช. ปวส.และอุดมศึกษาต่อไป

 

พัฒนชัย/เชียงใหม่