นราธิวาส- หนุ่มใต้กรีดยาง เอาดี เลี้ยงผึ้งชันโรง จาก 10 เป็นแสน ปลื้ม รายได้งาม

นราธิวาส- หนุ่มใต้กรีดยาง เอาดี เลี้ยงผึ้งชันโรง จาก 10 เป็นแสน ปลื้ม รายได้งาม

เราจะพาไปพบกับเกษตรกรหนุ่ม นายซุลกีฟลี อาแว ที่มี ความมุ่งมั่น ขยัน สามารถใช้พื้นที่บริเวณบ้าน มาสร้างรายได้ จากการเลี้ยงผึ้งชันโรงเอง จาก 10 ลังโรงเรือน ปัจจุบันขยายไปทั่วบริเวณบ้าน ซึ่งมีเกือบ 100 ลังโรงเรือน จนสร้างรายได้ต่อยอดขายไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือนและปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน พร้อมมีการยืนยันการันตีคุณภาพของผึ้งชันโรง ( สายพันธุ์ฮิตาม่า) และได้ ชนิดน้ำผึ้งดอกไม้ป่าและสวนเกษตรผสมผสาน จาก 1. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จากจังหวัดเชียงใหม่ 12 มิถุนายน 2566 2. การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งยุค 4.0 ( Smart Bee )จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 24 เมษายน 2566 3.เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค จึงได้จดทะเบียนพาณิชย์เพื่อจำหน่ายน้ำผึ้งชันโรง และกล่องเลี้ยงชันโรง พร้อมจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร (ทุกชนิด) ที่สำคัญ ยังได้รับประกาศนียบัตร จาก YSF DOAE กรมส่งเสริมการเกษตร ประเมินและผ่านคุณสมบัติเป็น Young Smart Farmer ปี 2566


นายซูลกีฟลี อาแว เล่าว่า การเก็บน้ำผึ้ง เดือนหนึงครั้งหนึง แต่เราก็ต้องดูที่ดอกไม้ป่าด้วย ดอกไม้ป่าเยอะเราก็ได้เยอะ ถ้าดอกไม้ป่าน้อย เราก็เก็บ เดือนละ 2 ครั้ง เหมือนกับว่า ผึ้งได้ออกไปหาน้ำหวานของดอกไม้ป่า และนำน้ำหวานกลับมาเข้าในลัง แล้วมาสร้างเป็นน้ำผึ้งตามกระบวนการของมัน เอง ดอกไม้ป่าเป็นแหล่งอาหารของผึ้ง ที่มาผลิตเป็นน้ำผึ้ง…1 ลังได้ประมาณ 1 กิโล ที่ขายใส่ขวด ประมาณ 450 มิลลิลิตร ราคา 450 บาท ถ้า 1 กิโลกรัม จะตกอยู่ที่ 1500 บาท ขวดเล็ก 150มิลลิลิตร ราคา 100บาท แต่ละเดือนถ้าขายได้ 10 ขวดใหญ่ ก็ได้ เดือนละ ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท.. 1 ปี ก็ได้ 100,000 กว่าบาท มีคนมารับไปขายเอง ส่งไปกรุงเทพฯ นครราชสีมา แถวภาคเหนือ เชียงใหม่ อาชีพปกติกรีดยาง แต่อันนี้เป็นรายได้เสริมที่ต่อยอดได้ดีมาก เลี้ยงในสวนมะพร้าว ดีมาก

เพราะลูกค้าที่ซื้อไปที่เราขายผึ้งชันโลงในกล่อง แถวภาคเหนือภาคกลางส่วนใหญ่ เอาไปเลี้ยงในสวนผลไม้ ลำไย มะม่วง เพราะผึ้งชันโลงจะได้ผสมเกสรจากดอกและเอาน้ำหวานไปผลิตเป็นน้ำผึ้ง สวนปาร์ม สวนยาง สวนมะพร้าวทำได้หมดอยู่ที่ว่าเราขยัน ไม่ต้องให้อาหาร รอเก็บน้ำหวานอย่างเดียว..ก็ขอเชิญชวนให้อนุรักษ์ผึ้งชันโรง ให้เลี้ยงให้ลูกหลาน เหลน สืบทอดไป และผมเองก็กำลังจะสร้างเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้มีรายได้เสริมจากการกรีดยางเพิ่มมากขึ้น และยินดี เปิดสอนให้สำหรับคนที่ขยันมาเรียนรู้ ฟรี ไม่มีค่าสอนใดๆ ครับ
พิกัด 84/1 หมู่ 2 ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส บ้านสวนชันโรงโตะปูเตะ และสวนเกษตรผสมผสาน ชื่อสินค้าและเพจ. NAHLU BADO (นะห์ลู บูโด )ติดต่อซื้อ สอบถาม และปรึกษา เฟส.ซูลกีฟลี โตะปูเตะ โทร. 098-2089188


จุดเด่นของน้ำผึ้งชันโรง นะห์ลู บูโด คือ เป็นน้ำผึ้งจากดอกเสม็ดขาว ซึ่งดอกเสม็ดขาวมีคุณค่ามากมายหลายอย่างตัวน้ำผึ้งจะออกเป็นสีเขียวมรกต เพราะว่ามาจากดอกเสม็ดขาว สรรพคุณต้านมะเร็ง รักษาออไซเมอร์ และสารที่ป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมอง ตามที่อาจารย์ที่มาวิจัย บอก
วิธีการทำโรงเรือนผึ้งชันโรง เริ่มจาก การนำต้นไม้ที่ไม่ใช้แล้ว ตัดเป็นฐาน หรือเป็นเสาโรงเรือนผึ้ง ตัดเป็นท่อนๆ และเลือกต้นที่ตรงกลางลำต้นเป็นโพลง หรือรู เพื่อเป็นเส้นทางและประตูให้ผึ้งชันโรง ออก และเข้า ไปยังถาดผลิตรังผึ้งชันโรง ได้เข้าไปผลิตน้ำผึ้งตามกระบวนการผลิตน้ำผึ้งในถาดน้ำผึ้งที่เราทำไว้ วาง ให้สูงประมาณ 1 เมตร หรือสะดวก และง่ายต่อการเก็บน้ำผึ้ง และอีกอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้สิงสาลาสัตว์เล็กใหญ่ ได้มาปีนทำลายรังผึ้งได้

จากนั้นนำถาดรองน้ำผึ้งมาวาง ถาดรองน้ำผึ้งจะทำด้วยไม้สดจากต้นไม้ที่ตัดมา แล้วมาเลื้อยเป็นแผ่นๆและประกอบเป็น 4 เหลี่ยมผืนผ้า หรือจัตุรัสก็ได้ เจาะรูตรงกลาง และวางลงให้ตรงกับฐานหรือเสา เพื่อเป็นช่องทางเชื่อมต่อระหว่างประตูทางเข้าจากเสามาถึงรังไม้ที่เป็นถาดรองน้ำผึ้งแลซึ่งเป็นจุดพิกัดของกระบวนการผลิตน้ำผึ้งชันโรง เราจะไม่ใช้ไม้ที่มาจากโรงไม้หรือไม้ที่ผ่านจากการผลิตที่เคลือบสารเคมีต่างๆ เสร็จแล้วนำถาดมาวางลงบนฐานหรือเสามะพร้าวหรือต้นไม้อื่นที่เตรียมไว้ เราจะนำเกสรที่อยู่ในต้นไม้ที่ตัด ซึ่งเป็นอาหารของผึ้งชันโรงตัดมาวางเพื่อเป็นตัวล่อผึ้งชันโรงให้เข้าผลิตน้ำผึ้งตามกระบวนการ ผึ้งจะนำน้ำหวานจากเกสร มาผลิตตามกระบวนการผลิตเป็นน้ำผึ้ง และขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเราจะมีฝาชั้นแรกคือ ถุงพลาสติกปิดไว้กันน้ำฝน ชั้นที่2 จะเป็นฝาไม้ปิดด้านบน เพื่อกันการรบกวนการทำงานการผลิตน้ำผึ้งของตัวผึ้ง

และที่สำคัญน้ำผึ้งชันโรงจะได้น้ำผึ้งที่สมบูรณ์ปราศจากสิ่งไม่พึงประสงค์เจือปน มีคุณภาพ บริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นเมื่อผึ้งชันโรงที่อยู่ในถาดอายุครบ 5-6 เดือน เราจะสามารถเก็บน้ำผึ้งมารับประทานและขายได้มากประมาณ 1 กิโลกรัมต่อโรงเรือน ต่อมาการเก็บของครั้งต่อๆไป เราก็จะเก็บเดือนละครั้ง เดือนละครั้ง และสามารถเก็บได้ตลอดจนกว่า โรงเรือนผึ้งชันโรงจะผุพังจนใช้งานไม่ได้ แต่ เราก็ยังสามารถย้ายผึ้งชันโรงไปเลี้ยงต่อตรงโรงเรือนใหม่ได้ ..ส่วนปริมาณน้ำผึ้งชันโรง ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและความสมบูรณ์ของป่า สิ่งแวดล้อม ช่วงเมษายน ถึง กันยายน เป็นหน้าร้อน จะได้น้ำผึ้งชันโรงมากกว่า ช่วงหน้าฝน เพราะน้ำหวานจากดอกไม้จะโดนชะล้างไปกับน้ำฝน ผึ้งชันโรงจะไม่สามารถนำน้ำนมาผลิตได้ ..
ชันโรง หมายถึง ชื่อผึ้งขนาดตัวเล็กกว่าผึ้งพันธุ์อื่น 2-3 เท่า อยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กใน เหมือนผึ้งธรรมดา …ไม่มีพิษ

ข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส