เชียงใหม่-เปิดตัว”โครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชน ปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยง“

เชียงใหม่-เปิดตัว”โครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชน ปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยง“

วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานเปิดตัว “โครงการ สร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” โดยมี นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) นายประดิษฐ์ สีใส ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ที่ 1 กองทัพภาคที่ 3 ล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนโครงการ เข้าร่วมกิจกรรม ณ กรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่

โครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วย กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในวงเงิน 3,997,500 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันท่ี 15 มิถุนายน 2567 คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ที่เกิดจุดความร้อน (Hotspot) สะสมหนาแน่น 3 ปีย้อนหลัง คือ ปี 2563-2565 โดยพิจารณาปัจจัยเชิงพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ พื้นที่ชุมชน ในเขตป่า พื้นที่ชุมชนในเขตรอยต่อป่า-เกษตร และชุมชนในพื้นท่ีเกษตร รวมท้ังความพร้อมของพื้นที่ในการให้ ความร่วมมือขับเคลื่อการดำเนินโครงการฯ

สำหรับโครงการฯ มี 3 กิจกรรมท่ีสำคัญ ได้แก่
กิจกรรมท่ี 1 สร้างการรับรู้ผ่านกิจกรรมเคาะประตูบ้าน ดำเนินการโดยกองทัพภาคที่ 3 ผ่านการสื่อสารเชิงรุก การลาดตระเวรป้องปราม กิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ เช่น กลุ่มเข้าป่าล่าสัตว์ กลุ่มผู้นำ ชุมชนกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 80 ตำบลใน 3 จังหวัด ดังน้ี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 50 ตำบล จำนวน 25 ตำบล จำนวน 5 ตำบล
กิจกรรมท่ี 2 การสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผา ดำเนินการโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุม มลพิษท่ี 1 (เชียงใหม่) สำนักงานส่ิงแวดล้อมและควบคุมมลพิษท่ี 3 (พิษณุโลก) และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและ ควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์) มีพื้นท่ีเป้าหมายดำเนินการ 80 ชุมชน ใน 6 ตำบล 3 จังหวัด ดังนี้


ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่,ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่,ตำบลแม่สลิด อำเภอ บ้านตาก จังหวัดตาก,ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก,ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 10 ชุมชน ,ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 11 ชุมชน
จำนวน 17 ชุมชน จำนวน 16 ชุมชน จำนวน 13 ชุมชน จำนวน 13 ชุมชน
กิจกรรมที่ 3 การสื่อสารให้ความรู้ในวงกว้างภาพรวมทั้งประเทศ ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ ผ่านช่องทางการเผยแพร่ที่สำคัญ คือ Facebook แฟนเพจ “ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ” (ศกพ.)

สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 จากการเผาในที่โล่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าจากฐานความรู้และนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาให้ เกิดความยั่งยืน ได้แก่

ฐานความรู้ท่ี 1 เรื่อง “การนำเสนอภาพรวมโครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชน ปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน และแนวทางความสำเร็จ ของชุมชนต้นแบบปลอดการเผา บ้านนาฮ่อง ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” โดย เครือข่ายชุมชน ปลอดการเผา ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานส่ิงแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่)และหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการฯ


ฐานความรู้ที่ 2 เรื่อง “แม่แจ่ม โมเดลพลัส” โดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ)
ฐานความรู้ที่ 3 เรื่อง “เครือข่ายภาคพลเมืองเพื่อการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่”โดย สภาลมหายใจภาคเหนือ
ฐานความรู้ที่ 4 เรื่อง “พื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชาบนพื้นท่ีสูง” โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นท่ีสูง (องค์การมหาชน)
ฐานความรู้ที่ 5 เรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางภูมิสารสนเทศเพื่อจัดการฐานความรู้ ทางภูมิศาสตร์และแก้ไขปัญหา PM2.5” โดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฐานความรู้ที่ 6 เรื่อง “Chiang Mai Model : การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร” โดย ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย คณะทำงานโครงการ เชียงใหม่โมเดล


ฐานความรู้ที่ 7 เรื่อง “การจัดการปัญหาในพื้นท่ีป่าและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน” โดย สำนักบริหารพื้นท่ีอนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
ฐานความรู้ท่ี 8 เรื่อง “โดรนดับไฟป่า” โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

นอกจากนี้ ยังเปิดเวทีรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการฯและแนวทางการต่อยอดความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากไฟป่าและการเผาในที่โล่งอีกด้วย

ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ คือ “ประชาชนมีการรับรู้และมีส่วนร่วมในการลดการเผาเพื่อแก้ไข ปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ส่งผลให้จำนวนจุดความร้อนในพื้นท่ีนั้นลดลง คุณภาพอากาศอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น รวมทั้งชุมชนต้นแบบปลอดการเผาในพื้นที่ท่ีมีจุดความร้อนสูงท่ีสามารถเป็น ต้นแบบในการบริหารจัดการปัญหาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้ชุมชนอื่นๆ นำไปปรับใช้ และขยายผลแก้ปัญหาต่อไป”

 

พัฒนชัย/เชียงใหม่