สุโขทัย-อาชีวศึกษาภาคเหนือ3ร่วมกับสมาคมครุศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมทดแทนพลังงานสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ติววิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษาระดับชาติ

สุโขทัย-อาชีวศึกษาภาคเหนือ3ร่วมกับสมาคมครุศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมทดแทนพลังงานสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ติววิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษาระดับชาติ

 


ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 ร่วมกับ สมาคมครุศาตร์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมทดแทนพลังงานสู่ชุ มชนแห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2 National Conference of Innovative Technology and Vocational Education & Training T-VET มี นางสุวรรณี คำมั่น นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 เป็นประธานในการประชุม และ นายสงวน หอกคำ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 กล่าวรายงานพร้อมทั้ง กองบรรณธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายสถาบัน รวมทั้งนักศึกษา ครูอาจารย์ และ บุคคลภายนอก เข้าร่วมงานรวม 250 คน เมื่อวันที่ 24 – 25 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา


เพื่อกระตุ้นและส่งเสริม อาจารย์ นักศึกษา รวมถึงบุคคลภายนอก ให้ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ และเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาและบุคคลภายนอกที่สนใจ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในเอกสารรายงานการประชุมวิชาการที่จัดขึ้น โดยมีหัวข้อในการจัดงานคือ “การพัฒนาเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์ การจัดการเรียนการสอน และการบริหารด้านอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านอาชีวศึกษาอย่างยั่งย
ภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “การพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการวิจัยพื้นฐาน การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอาชีวศึกษา เพื่อก้าวสู่ระดับสากลและความยั่งยืนขององค์ความรู้” โดยมี ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เวสเทิร์น ดิจิ ตอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และอาจารย์เฉลิมศักดิ์ พงษ์กล่าวขำ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ อุปนายกสมาคมการประดิษฐ์ไทยร่วมกิจกรรม


นอกจากนี้มีการนำเสนอผลงานการวิจัย จาก นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลภายนอก แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.) แบบบรรยาย Oral Presentation2.) แบบโปสเตอร์ Poster Presentation 3.) แบบนวัตกรรม Innovational Presentation โดยมีจำนวนผู้ส่งผลงานทั้งสิ้นถึง 190 ผลงาน และยังมีรางวัลการนำเสนอผลงานยอดเยี่ยม The best Award ให้แก่ผู้นำเสนอผลงาน โดย ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ เป็นผู้มอบรางวัล ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลได้แก่ AP043 การสร้างและหาประสิทธิภาพแม่พิมพ์โลหะผลิตชิ้นส่วนพวงกุญแจและเปลี่ยนพั้นช์โลโก้อย่างรวดเร็ว โดย นายสมชาย คงหนู อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลกสาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ , GI008 เตาประหยัดพลังงานปลอดสารพิษ โดยนางสาวเปรนิกา มณีท่าโพธิ์ อาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, OA004 ศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากอุปกรณ์เทอร์โมอิเล็กทริกเจนเนอร์เรเตอร์โดยใช้ น้ำร้อนจากท่อส่งน้ำที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์ โดยนายอดิรุจ สุริณารินทร์ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม