ปทุมธานี “อดีต สจ.ตุ้ย คนดังเมืองปทุมธานี ” เปิดโครงการคนรุ่นใหม่สืบสานวัฒนธรรม(ลำตัด)ไทย

ปทุมธานี “อดีต สจ.ตุ้ย คนดังเมืองปทุมธานี ” เปิดโครงการคนรุ่นใหม่สืบสานวัฒนธรรม(ลำตัด)ไทย

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา)ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี นายนพดล ลัดดาแย้ม อดีตสจ.คนดังเมืองปทุมธานี ขวัญใจแม่ยกชาวเมืองปทุมธานี และว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 ปทุมธานี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดโครงการคนรุ่นใหม่สืบสานวัฒนธรรม(ลำตัด)ไทย สนับสนุนโดยกองทุนส่งเสริมการจัดกิจการสังคมกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการโดยชมรมอาสาเพื่อนเห็นเพื่อนจังหวัดปทุมธานีโดยมีเพ็ญผกา กรวยทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา)


นางศิริพร ขาวขำ ประธานชมรมอาสาเพื่อนเห็นเพื่อนจังหวัดปทุมธานี เจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี ชมรมอาสาเพื่อนเห็นเพื่อนจังหวัดปทุมธานี และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก มีวิทยากรครูได้แก่นายณรงค์ศักดิ์แมลงภู่ นายช่างสิบหมู่ สาขาดนตรีไทย ประกอบไปด้วยนางวิลาวัลย์


ฐีตะธรรมานนท์ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนชุมชนวัดหน้าไม้ (ฝึกร้องรำตีฉิ่ง )นายต่อต้าน นิมา นักลำตัดอาชีพ(ตีกลองรำมะนา) ต่อมาผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายนพดล ลัดดาแย้ม อดีต สจ.คนดังเมืองปทุมธานี และว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคพลังประชารัฐกล่าวเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณผู้ดำเนินการชมรมอาสาเพื่อนเห็นเพื่อนจังหวัดปทุมธานีที่ให้เกียรติ กระผมมาเป็นประธานเปิดโครงการคนรุ่นใหม่สืบสานวัฒนธรรมลำตัดไทย สืบเนื่องจากในปัจจุบันสังคมการพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็วเข้าถึงเด็กเยาวชนชุมชนเข้าถึงง่ายการสื่อสารทางตรงได้อย่างรวดเร็วโดยการสื่อสารและการใช้ภาษาของแต่ละกลุ่มคนแตกต่างกันออกไปส่งผลให้บางคน

บางกลุ่มไม่เข้าใจและที่สำคัญขาดศิลปะในการปฏิสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มประเพณีวัฒนธรรมการละเล่นที่เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมดังเดิมเริ่มหายไปและขาดการสืบสานต่อเนื่องในปัจจุบัน การให้ความสนใจเรื่องประเพณีวัฒนธรรม รากเหง้าดั้งเดิมของการสื่อสารที่ถ่ายทอดผ่านความสนุกสนานการร้องลำตัดซึ่งเป็นการละเล่นการส่งภาษาเพื่อการสื่อสารถึงเรื่องราวชีวิตวัฒนธรรมของสังคมตามยุคนั้นเป็นการสื่อสารแบบง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้นอกจากนั้นการร้องลำตัดเป็นการส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของชุมชนของกลุ่มคนต่างวัยที่สามารถสื่อสารและเข้าใจกันส่งผลคุณค่าด้านจิตใจเกิดภาวะที่ดีของคนชุมชนสังคมเพื่ออาทรแบ่งปัน

ดังนั้นการอนุรักษ์และการสื่อสารวัฒนธรรมไทยลำตัดให้กับกลุ่มคนที่สนใจใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารและสืบทอดให้มีการขยายไปสู่เด็กเยาวชนกลุ่มชุมชนในทุกกลุ่มให้เห็นถึงความสำคัญที่เป็นรากฐานของการส่งเสริมชุมชนสังคมให้เกิดความถ้อยทีถ้อยอาศัยกันแบบเข้าใจในทุกมิติ ผ่านการสื่อสารลำตัดการละเล่นพื้นบ้านของสังคมไทยอย่างเป็นจริง นอกจากนี้ยังขยายพื้นที่เพิ่มเติมในจังหวัดปทุมธานีเน้นความสำคัญของกลุ่มต่างวัยในการใช้ลำตัดเพื่อการสื่อสารท่ามกลางปัจจุบัน วัตถุประสงค์ก็เพื่อยกระดับความรู้การฟื้นฟูลำตัดการละเล่นของคนรุ่นใหม่เต็มวงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์เยาวชนคนรุ่นใหม่การขับร้องการแสดงและดนตรีลำตัดอย่างมีส่วนร่วม

และเพื่อสานความร่วมมือการละเล่นลำตัดพื้นบ้านการสืบทอดความเป็นเอกลักษณ์ของปทุมธานีของคนรุ่นใหม่ โดยวันนี้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 50 คนประกอบด้วยเยาวชนจำนวน 20 คนผู้สูงอายุ 10 คนกลุ่มแกนนำชุมชน 10 คนและคณะทำงานชมรมวิทยากรอีก 10 คน ส่วนบรรยากาศโดยรวมเป็นไปด้วยความสนุกสนานเด็กๆและผู้ที่เข้ามาฝึกอบรมชื่นชอบและอยากเรียนรู้ จึงอยากจะให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้ที่ได้ ไปสานต่อและต่อยอด(ลำตัดไทย)ให้คงอยู่สืบไป

 

ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน