ลำพูน – การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

ลำพูน – การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ ๐๗ ม.ค. ๖๖ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๒.๓๐ น. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดการประชุมสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจ โครงการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ จว.ลำพูน ณ ห้องประชุมแกรนด์ปา ๑ โรงแรมแกรนด์ ปา แอนด์ รีสอร์ท ลำพูน ม.๕ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน จว.ลำพูน โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน ๔๑ คน ดำเนินการโดย บริษัทที่ปรึกษา บ.โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จก.

โดยมีวิทยากรฯ ประกอบด้วย
๑. น.ส.อตินุช ก้องสนั่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง
๒. นาง(รศ.ดร.)นพภาพร พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
๓. นายกิจปกรณ์ โสตถวรนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและวางผัง
๔. นายภาสกร สติชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด

เพื่อรับทราบความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ, การคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพและความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ จว.ลำพูน, ความเป็นไปได้ในทางด้านการตลาดของพื้นที่โครงการฯ, แนวคิดการออกแบเบื้องต้น(Conceptual Design)ของนิคมอุตสาหกรรม, การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(IEE) ของโครงการนิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนรับข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม กล่าวสรุปและปิดการประชุม

วัตถุประสงค์ของการดำเนินการศึกษา
๑. เพื่อศึกษาและประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(Straegic Environmental Assessment : SEA)
๒. เพื่อกำหนดขอบเขตและขนาดของพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
๓. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
๔. เพื่อศึกษาและกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตลอดจนแผนงานหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนจัดตั้ง พัฒนา และบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
๑. สนับสนุนโยบายของภาครัฐภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BGC พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๙ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
๒. ส่งเสริมการลงทุนใการประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ และสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในแต่ละพื้นที่
๓. ส่งเสริมให้ จว.ลำพูนเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในแนวทาง BCG Model และอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
๔. มีศูนย์กลาง Supply Chain เพื่อเกิดการจ้างงาน แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีทักษะ มีศักยภาพ
๕. มีพื้นที่รองรับสำหรับขยายธุรกิจและการประกอบกิจการโรงงานแก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

พื้นที่การศึกษา จว.ลำพูน เพื่อให้ได้พื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสมไม่น้อยกว่า ๒ แห่ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เกิดการลงทุนในการประกอบอุตสาหกรรมของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับสูง และเป็นมิตต่อสิ่งแวดล้อม
๒. รัฐบาลประสบความสำเร็จในนโยบายของภาครัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BGC พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๙ ยุทธศาสต์ที่ ๓ : ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BGC ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน เกิดการลงุทุนในอุตสาหกรรม สนับสนุนหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรรมเป้าหมาย
๓. เกิดการจ้างแรงงานในชุมชนโดยรอบและในพื้นที่ จว.ลำพูน ทำให้ประชาชนในชุมชนและในพื้นที่ จว.ลำพูนมีอาชีพ มีการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
๔. โครงการสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคมีการพัฒนา นอกจากจะเพิ่มศักยภาพรองรับการลงทุนภายในจังหวัดแล้ว ยังช่วยให้ชุมชนและเมืองเกิดการพัฒนา ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิวตที่ดีขึ้น

ขั้นตอนการคัดเลือกพื้นที่โครงการ
๑. วิเคราะห์คุณสมบัติของที่ตั้งที่เหมาะสม ซึ่งเป็นคุณสบัติของพื้นที่เชิงกายภาพในเบื้องต้น เพื่อให้ได้พื้นที่ศักยภาพที่เป็นทางเลือกการพัฒนาจำนวน ๕ บริเวณ จากนั้นนำไปเข้ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ จว.ลำพูน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ จากนั้นการประเมินเชิงคุณภาพด้านความเป็นไปได้ของการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งได้พื้นที่ศักยภาพเป้าหมาย จำนวน ๒ บริเวณ ผลการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์เชิงที่ตั้ง สามารถสรุปพื้นที่ศักยภาพได้ ดังนี้


บริเวณที่ ๑ พื้นที่ ต.มะเขือแจ้ ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จว.ลำพูน ได้ ๙๗ คะแนน
บริเวณที่ ๒ พื้นที่ ต.ศรีบัวบาน ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จว.ลำพูน ได้ ๙๑ คะแนน
๒. การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของพื้นที่ ๒ บริเวณ โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงิน ได้แก่ ซึ่งผลการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร สามารถสรุปพื้นที่ศักยภาพได้ดังนี้
บริเวณที่ ๑ พื้นที่ ต.มะเขือแจ้ ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จว.ลำพูน ได้ ๑๐๐ คะแนน
บริเวณที่ ๒ พื้นที่ ต.ศรีบัวบาน ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จว.ลำพูน ได้ ๙๐ คะแนน
ผลการรวบรวมคะแนนจากทั้งสองหลักเกณฑ์ ทั้งคุณสมบัติของที่ตั้งที่เหมาะสม และความสามารถในการทำกำไรของที่ดิน สรุปได้ว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม คือ พื้นที่ ต.มะเขือแจ้ อ.เมืองลำพูน จวลำพูน โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม ๙๘.๕ คะแนน

กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและสัดส่วนการใช้พื้นที่
อันดับ ๑ ได้แก่ อุตสาหกรมชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ สัดส่วนการพัฒนา ร้อยละ ๕๐
อันดับ ๒ ได้แก่ อุตสาหกรรมสินค้าเกษตร สัดส่วนการพัฒนา ร้อยละ ๑๕
อันดับ ๓ ได้แก่ อุตสาหกรรมวัสดุสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สัดส่วนการพัฒนา ร้อยละ ๑๐
อันดับ ๔ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร สัดส่วนการพัฒนา ร้อยละ ๑๐
อันดับ ๕ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ เลนส์ แว่นตา สัดส่วนการพัฒนา ร้อยละ ๑๐
อันดับ ๖ ได้แก่ อุตสาหกรรมอื่นๆ สัดส่วนการพัฒนา ร้อยละ ๕
ที่มา จากบริษัทที่ปรึกษา บ.โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จก.

พื้นที่วางผังโครงการนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ ต.มะเขือแจ้ ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จว.ลำพูน มีพื้นที่ตามผังแม่บทประมาณ ๖๕๓ ไร่ และมีพื้นที่ส่วนที่ใช้พัฒนาทำเป็นถนนทางเข้าออกโครงการประมาณ ๒๕ ไร่ การเดินทางเข้าสู่โครงการสามารถเดินทางได้โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ โดยจะต้องจัดหาซื้อที่ดินเพื่อจัดทำทางเข้าออกโครงการ ระยะทาง ๒ กิโลเมตร กว้าง ๒๐ เมตร เพื่อก่อสร้างถนนเข้าออกเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑

พื้นที่ตั้งโครงการฯ อยู่ในที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไป ที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมและคลังสินค้า การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม ต้องจัดให้มีที่ว่างโดยรอบ สำหรับปลูกต้นไม้ภายในแนวเขตของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต เพื่อเป็นแนวกันชนไม่น้อยกว่า ๓ เมตร ห้ามประกอบกิจการทุกประเภท เว้นแต่เป็นการก่อสร้างถนน ที่จอดรถยนต์ การสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง รั้วกำแพง แนวท่อขนส่ง ผลิตภัณฑ์ และทางเข้าออกของอาคารหรือทางเข้าออกของรถในพื้นที่กันชนนี้

กรรณิการ์ วิจิตรสกลการ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน