สภาอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา ขับเคลื่อนองค์กรผู้ใช้น้ำ สทนช.รองรับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม และ ส่งเสริมการส่งออกน้ำ เพื่อสร้างรายใหม่ เข้าประเทศ รับปีต่ายทอง

สภาอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา ขับเคลื่อนองค์กรผู้ใช้น้ำ สทนช.รองรับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม และ ส่งเสริมการส่งออกน้ำ เพื่อสร้างรายใหม่ เข้าประเทศ รับปีต่ายทอง

วันศุกร์ที่ 23 ธค.65 ที่ผ่านมา ณ.สำนักงาน สภาอุตสาหกรรม ลุ่มน้ำบางปะกง ม.7 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานการประชุม เพื่อรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรผู้ใช้น้ำ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ลุ่มน้ำบางปะกง โดยมีนายวิเชษฐ์ เกตุแก้ว ผู้มีอำนาจทำการแทนองค์กรผู้ใช้น้ำ ตามวัตถุประสงค์ การใช้น้ำและพัฒนาทรัพยากรน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภคภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการส่งออกน้ำ เพื่อสร้างรายได้ใหม่เข้าประเทศ ในวันที่27ธค.65 ร่วมประชุมหารือข้อมูลด้านการใช้น้ำ (End Uer) นำเสนอข้อมูลด้านการใช้น้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี โดยมี นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านบริหารจัดการน้ำ สกพอ.เป็นประธานคณะทำงานณ.สำนักงานกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เขตบางรัก กทม.


ต่อมา ร่วมหารือ นายจักรกฤษ พุ่มสุวรรณผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานลุ่มน้ำบางปะกง กรรมการลุ่มน้ำและเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง
ณ.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 สำนักนายกรัฐมนตรี สทนช.ได้กำกับ ขับเคลื่อนโครงการมีความคีบหน้า ดังนี้
1.ได้รับจัดสรรงบประมาณไปแล้ว 22 โครงการ จะแล้วเสร็จตามแผนปี 2568 ได้น้ำเพิ่ม317.79 ล้าน ลบ.ม. น้ำตันทุนเพิ่มขึ้นจากปี 2560 เท่ากับ 2856.79 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 98.92% ของความต้องการใช้น้ำปี 2570- ดำเนินการแล้วเสร็จ 11 โครงการ ได้น้ำเพิ่มขึ้น 201.19 ล้าน ลบ.ม. เช่น สระทับมาจ.ระยอง เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง จ.ชลบุรีและระยอง อ่างเก็บน้ำคลองกระแสร์ จ.ซลบุรี ระบบสูบกลับหนองสะพาน อ่างเก็บน้ำประเเสร์ เส้นที่ 1 จ.ระยอง เป็นต้นส่งผลให้ปี 2565 ในพื้นที่ EEC มีปริมาณน้ำต้นทุน 2740.19 ล้าน ลบ.ม.อยู่ระหว่างก่อสร้าง 11 โครงการคาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 68 จะได้น้ำเพิ่มขึ้น 116.60ล้าน ลบ.ม. เช่น อ่างเก็บน้ำพลวงใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว จ.จันทบุรี ปรับปรุงขยายระบบประปา กปภ.จ.ซลบุรีและระยอง อ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จ.ฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จ.ระยอง เป็นต้น


2. จะต้องขับเคลื่อน 16 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2572 ได้น้ำเพิ่ม 554.87 ล้าน ลบ.ม.น้ำตันทุนเพิ่มขึ้นจากปี 2560 เท่ากับ 3411.56 ล้าน ลบ.ม. รองรับการเติบโตของ EEC ในปี 2580 จำแนกดังนี้
1) กลุ่มโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มน้ำต้นทุนอ่างฯประแสร์ จ.ระยองและอ่างฯบางพระจ.ชลบุรี 7 โครงการ ได้น้ำเพิ่ม 195 ล้าน ลบม. เช่น อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จ.จันทบุรี ระบบสูบกลับคลองสามย่านอ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 จ.ระยอง เป็นตัน
2) กลุ่มโครงการเพิ่มน้ำต้นทุนอ่างฯคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 2 โครงการ ได้น้ำเพิ่ม 56 ล้านลบ.ม. ได้แก่ อุโมงค์ส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองพระสะพึง อ่างเก็บน้ำคลองสียัด และระบบสูบกลับอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา


3) โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนใน EEC7 โครงการ ได้น้ำเพิ่ม 293.87 ล้าน ลบ.ม. ที่ให้ความสำคัญกับการเกษตร อุปโภคบริโภค และยังเป็นน้ำต้นทุนที่เพิ่มความสามารถการผลักดันน้ำเริ่ม เช่น อ่างเก็บน้ำบ้านหนองกระทิง อ่างเก็บน้ำคลองกระพง จ.ฉะเชิงเหรา อ่างเก็บน้ำคลองน้ำเขียว จ.ระยอง เป็นต้น
ต่อมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ .) ในครั้งประชุมครั้งที่2/2564 เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2561 นายกรัฐมนตรีรับทราบให้ สทนช.เป็นเจ้าภาพบูรณาการหน่วยงานเพื่อจัดหาเเหล่งน้ำรองรับพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตร รอบสนามบินนานาชาติอุ่ตะเภา ปัจจุบันระหว่างศึกษา จะแล้วเสร็จก.พ. 2566 สทนช.จะได้เสนอ กนช.เห็นชอบเป็นโครงการสำคัญ ในเขตพื้นที่ EEC …