ปัญหาน้ำมัน ยัง”โคม่า” ทั้ง”ขาดแคลน” ทั้ง”แพงเวอร์ “น้ำมันเถื่อน”เริงร่า” ลักลอบนำเข้า ไม่พอขาย ผู้ประกอบการถามรัฐบาล เทศกาลปีใหม่ นักท่องเที่ยวเต็มเมือง แต่ ปั๊มไม่มีน้ำมันขาย ประเทศไทยมาถึงจุดนี้แล้วหรือ วิ

ปัญหาน้ำมัน ยัง”โคม่า” ทั้ง”ขาดแคลน” ทั้ง”แพงเวอร์ “น้ำมันเถื่อน”เริงร่า” ลักลอบนำเข้า ไม่พอขาย ผู้ประกอบการถามรัฐบาล เทศกาลปีใหม่ นักท่องเที่ยวเต็มเมือง แต่ ปั๊มไม่มีน้ำมันขาย ประเทศไทยมาถึงจุดนี้แล้วหรือ วิ


ผู้สื่อข่าว ซึ่งเกาะติดปัญหาน้ำมันขาดแคลน และมีราคา 2 มาตรฐาน ระหว่างปั๊มน้ำมันของบริษัท กับ ปั๊มอิสระที่ไม่มีแบรนด์ ได้รายงานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ถึงปัญหาน้ำมันขาดแคลน ทั่วประเทศโดยเฉพาะภาคใต้ ซึ่งมีคลังน้ำมันตั้งอยู่ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา และที่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งโรงกลั่นต้องขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นมายังคลังทั้ง 2 แห่งโดยทางเรือ ซึ่งขณะนี้ปัญหาความขาดแคลนยังไม่คลี่คลาย และทวีความรุนแรงกว่าเดิม แม้จะมีคำสั่งจาก อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ให้ คลังนำน้ำมันดีเซลสำรองจำนวน สองล้านกว่าลิตรจำหน่ายเพื่อทดแทนการขาดแคลน แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น


ซึ่ง น.ส.พันธิพา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ได้มีการขอร้องให้บริษัทน้ำมันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการขนส่งจากโรงกลั่นไปยังคลังน้ำมัน ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนเรื่องราคาที่มีการขายให้บัญชีปั๊มและบัญชีค้าส่งไม่เท่ากัน ก็ได้ขอร้องให้บริษัทเข้าไปดูแล ซึ่งยอมรับว่า กรมธุรกิจพลังงานไม่สามารถในแทรกแซงในเรื่องการกำหนดราคาขาย แต่เชื่อว่าสถานการณ์ การขาดแคลนน้ำมันจะดีขึ้น เพราะโรงกลั่นที่ปิดซ่อมบำรุงประจำปี ได้กลับมาดำเนินการแล้ว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจาก ปั๊มแบรนด์ ที่เป็นของบริษัททั้งของไทยและต่างชาติ ที่ยังต้องปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกบริษัทแม่เจ้าของแบรนด์ มีคำสั่งห้ามขายให้กับลูกค้าที่นำถังมาบรรทุก ให้ขายเฉพาะลูกค้าที่ขับรถเข้ามาเติมที่ปั๊มเท่านั้น ทำให้ปั๊มแบรนด์ จำนวนหนึ่ง ไม่มีน้ำมันเพียงพอให้กับประชาชน โดยเฉพาะปั๊มแบนด์บางยี่ห้อ ที่ไม่มีโรงกลั่น และไม่มีคลังของตนเอง หลายปั๊มก็ต้องปิดตัว ส่วนปั๊มอิสระ ที่ต้องซื้อน้ำมันในราคาแพง และต้องตั้งราคาขายให้แพงกว่าปั๊มแบรนด์ ลิตรละ 1-2 บาท แล้วแต่ ผลิตภัณฑ์เพื่ออย่าให้ขาดทุน และไม่ต้องการปิดปั๊ม เพราะยังมีลูกค้าส่วนหนึ่งที่ใช้บริการ แต่ส่วนหนึ่งที่ ปั๊มตั้งอยู่ใกล้กับปั๊มแบรนด์ และส่วนหนึ่งที่ซื้อน้ำมันมาจำหน่ายไม่ได้ จำเป็นต้องปิดปั๊มชั่วคราว เพื่อรอให้ผ่านพ้นวิกฤตของน้ำมันแพงครั้งนี้


ซึ่งเจ้าของปั๊มอิสระ ใน จ.สงขลา ได้ส่งราคาน้ำมัน ที่จำหน่ายในคลัง ในกรุงเทพฯเพื่อเปรียบเทียบราคาที่ ขายในปั๊มแบรนด์ กับราคาบัญชีค้าส่งที่คลังขายให้กับ”จ็อบเบอร์” และ”จ็อบเบอร์” นำมาขายให้กับปั๊มอิสระ และ เจ้าของกิจการ ขนส่ง และอื่นๆ ที่ต้องใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก ซึ่งราคาเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ดีเซล บี 7 ลิตรละ 34.95 บาท ในขณะที่ราคาหน้าปั๊มที่ จ.สงขลา ลิตรละ 35.55 บาทต่อลิตร ในขณะที่ราคาหน้าคลัง ดีเซล บี 7 ลิตรละ 37.29 บาทต่อลิตร เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็น แก๊สโซฮอลล์ 91 หรือ แก๊สโซฮอลล์ 95 ราคาหน้าปั๊มแบรนด์ กับราคาหน้าคลัง ยังต่างกันลิตรละ 1 บาทกว่า เกือบ 2 บาท ถ้าบวกค่าขนส่งของ”จ็อบเบอร์” และ”ค่าการตลาด” รวมทั้งปั๊มบวกค่าการตลาดเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะทำให้ราคาของปั๊มแบรนด์กับปั๊มอิสระต่างกันลิตรละ 2 -3 บาท แต่ที่สำคัญคือ คลัง ไม่มีน้ำมันขายให้ ซึ่ง บริษัทผู้ค้าส่งน้ำมันแห่งหนึ่ง ใน จ.สงขลา เปิดเผยว่า แต่ละวันต้องหาน้ำมันให้กับลูกค้า ด้วยการจองน้ำมันจาก”จ็อบเบอร์” ล่วงหน้า 2- 3 วัน จึงจะได้น้ำมัน และได้เพียงเล็กน้อย เช่นต้องการน้ำมัน 30,000 ลิตร ก็อาจะได้ 6 พันลิตร หรือบางวัน ได้แก๊สโซฮอลล์ 95 เพียง 4,000 ลิตร จากความต้องการของลูกค้า 20,000 ลิตร เปิดบริษัทมาแล้ว 27 ปี ยังไม่มีวิกฤติของน้ำมันอย่างที่เกิดขึ้นในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายอนันต์ อุดมทรัพย์ ซึ่งเป็นเจ้าของปั๊มอิสระ ใน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เหนื่อยยาก และลำบากมา ในการหาน้ำมันมาขาย และที่สำคัญต้องตอบลูกค้าที่ปั๊มต้องขายน้ำมัน ราคาแพงกว่าปั๊มแบรนด์ เพราะซื้อมาจากคลังด้วยราคาที่แพง บางครั้งตนก็บอกให้ลูกค้าไปเติมจากปั๊มแบรนด์ เพื่อตัดปัญหา วันนี้ก็ ปิดๆ เปิด ๆ ตามสภาพของการขาดแคลน สิ่งที่ขอถาม ผู้บริหารประเทศก็คือ ขณะนี้ประเทศกำลังฟื้นตัวจาก”โควิด 19 “ นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะ จังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอย่าง พัทลุง,ตรัง, กระบี่ เป็นต้น และยิ่งช่วง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ จำนวนคนเดินทางกลับบ้าน และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวมีจำนวนมาก เมื่อน้ำมันในคลังขาดแคลน ปั๊มที่แม้แต่ปั๊มแบรนด์ของบริษัทน้ำมันทั้งของไทยและต่างชาติมีน้ำมันไม่พอขาย มีการปันส่วน อยากถามว่ารัฐบาลคิดอะไรอยู่ และบริหารประเทศแบบไหน จึงปล่อยให้เกิด วิกฤตพลังงานขนาดนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีการ ขาดแคลนน้ำมันเกิดขึ้น และคลังกำหนดราคาขายให้กับปั๊มอิสระที่แพงมาก ได้ทำให้ น้ำมันเถื่อน จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีขบวนการลักลอบนำเข้ามาจาก มาเลเซียด้าน ชายแดน อ.สะเดา จ.สงขลา โดยเป็นรถบรรทุกหัวลาก หรือ เทรนเลอร์ ที่วิ่งระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งมีอยู่นับร้อยคัน และรถกระบะดัดแปลงที่ติดแทงค์เกอร์ภายในรถบรรจุ 1,000-2,000 ลิตร ที่มีอยู่จำนวน นับ 100 คัน เพื่อนำมาขายให้กับผู้ต้องการ รวมทั้งเริ่มมีการนำเข้าน้ำมันเถื่อนทางทะเล ด้านอ่าวไทย และ อันดามัน อีกครั้ง โดยยอมจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ในราคาแพง เนื่องจากน้ำมันในประเทศมาเลเซียมีราคาลิตรละ 16 บาทเท่านั้น ดังนั้น การบริหารพลังงานในประเทศที่เกิดขึ้น จึงเป็นช่องทางให้ผู้ค้าน้ำมันเถื่อน นำน้ำมันเถื่อนเข้ามาอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และทำให้รัฐบาลต้องขาดภาษีเป็นจำนวนมาก
นายชาตรี นพรุจน์ นักธุรกิจ ที่อุตสาหกรรมที่ทำอยู่ต้องใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก กล่าวว่า เดือดร้อนมาก เพราะตนเองซื้อน้ำมันจาก”จ็อบเบอร์” มาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อการลดต้นทุน แต่วันนี้น้ำมันขาดแคลนและมีราคาแพง และที่สำคัญตนซื้อน้ำมันจากปั๊มแบรนด์ ก็ไม่ได้เพราะเขาถูกบังคับไม่ให้ขายให้ลูกค้ารายใหญ่ที่บรรจุถัง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และการขนส่งเดือดร้อนทุกบริษัท ซึ่งก็อยากถามรัฐบาลว่า รู้หรือไม่กับความเดือดร้อนของ ประชาชน ของผู้ประกอบการ และถามว่า รัฐบาล ก็รู้ว่าปัญหาของราคาน้ำมันเกิดจาก สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ. และกำลังจะครบ 10 เดือน ในสิ้นปีนี้ ถามว่า กระทรวงพลังงาน มียุทธศาสตร์ ในการ บริหารพลังงานอย่างไร เพราะไม่เห็นมี นโยบาย ของการแก้ปัญหา มีแต่การ กู้เงิน มาตึงราคา และรีบเก็บเงินเข้ากองทุน ซึ่งวันนี้ กระทรวงพลังงานเก็บเงินเข้ากองทุนที่เป็นน้ำมันดีเซลลิตระ 8 บาทกว่า ถ้าชะลอกการเก็บ ทำให้น้ำมันดีเซลในประเทศขายได้ในลิตรละ 28 บาทกว่าเท่านั้น ทำไม่จึงต้องรีบเก็บในขณะที่ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และอื่นๆ กำลังฟื้นตัว ทำไมไม่ชะลอการเก็บ หรือลดการเก็บ เพื่อให้น้ำมันทุกตัว ลดลง ซึ่งจะส่งผลดีกับการฟื้นตัวของประเทศหลังโควิด ที่สำคัญคือ สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ยังไม่มีท่าทีจะยุติ และอาจจะ ลุกลาม มากกว่าที่เป็นอยู่ ถามว่า กระทรวงพลังงาน และ รัฐบาล มี นโยบายอย่างไรที่จะทำให้วิกฤติพลังงานลดน้อยลง
/////////////////////////////////////////////////////
(*)ไออาร์
D(บี7) = 38.15
แก๊ส91 = 35.55
แก๊ส95 = 35.75
/////////////////////////////////////////////////////////
คลัง ปตท
B7=36.25
คลังเชฟรอน
95=36.45
91=36.15
///////////////////////////////////////////////////////////

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา