5 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชนใน จ.ขอนแก่นร่วมทำ MOU ‘โครงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์’

5 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชนใน จ.ขอนแก่นร่วมทำ MOU ‘โครงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์’

วันที่ 24 พ.ย.65 ที่ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดงาน “โครงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์” พร้อมทำพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยกาส่งเสริมโครงการ หรือกิจกรรมด้านการพัฒนาเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์

ระหว่าง บริษัท เอไอ แอนด์โรโบติกส์ เวนเจอร์สจำกัด มีนายวีรวัฒน์ รัตนวราหะ เป็นผู้แทน, วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มี รศ.ดร.สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้แทน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มีอาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์นโยบายและแผน เป็นผู้แทน, บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง(เคเคทีที) จำกัด มีนายกังวาน เหล่าวิโรจน์กุล เป็นผู้แทน และเทศบาลนครขอนแก่น มีนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น

ในช่วงเช้ามีการบรรยายพิเศษหัวข้อต่างๆ อาทิ การบรรยายพิเศษหัวข้อ “บทบาทของเทศบาลในอนาคตเมือง” โดย รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ จากนั้นได้ทำพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยกาส่งเสริมโครงการ หรือกิจกรรมด้านการพัฒนาเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์ ระหว่าง 5 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชนใน จ.ขอนแก่นดังกล่าว และพิธีเปิดงาน “โครงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์” ตามลำดับ

หลังจากนั้นมีการบรรยายพิเศษหัวข้อ “Smart City กลวิธีหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ” โดย ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม ฯลฯ การจัดกิจกรรมเสวนา “การขับเคลื่อนเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ผ่านกลไกความร่วมมือ การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์” และในช่วงบ่ายได้มีการจัดกิจกรรม “Work shop” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง 5 หน่วยงานได้เกิดความรู้ความเข้าใจเพื่อร่วมกันพัฒนาเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์อย่างยั่งยืนต่อไป.