ยโสธร สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 11 จัดประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ภาคอีสาน

ยโสธร สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 11 จัดประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ภาคอีสาน


วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมเดอะกรีนปาร์ค แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ดร.สุประภาพ พัฒน์สิงทเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์เมขลา กรมทรัพยากรน้ำ เป็นประธานการประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 11 โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือระยะที่ 2 โดยมี ดร.กฤษณัส สุรกิตย์ ทีมวิศวกรโครงการกล่าวรายงาน


สำหรับโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดเล็กพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 2 เกิดขึ้นจากความต้องการในการแก้ปัญหาของภาครัฐต้านการบริหารจัดการภัยแล้ง และภัยจากน้ำหลาก โดยที่หน่วยงานของรัฐยังขาดข้อมูลด้านบัญชีแหล่งน้ำในระดับตำบลและในระดับหมู่บ้าน จึงส่งผลให้ไม่รู้ปริมาณน้ำที่แท้จริงในแหล่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้ประโยชน์สำหรับเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อถึงฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก ปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถประเมินศักยภาพในการเก็บกักปริมาณน้ำที่มีในปัจจุบัน และปริมาณน้ำที่คาดว่าจะขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถวางแผนการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำได้ดียิ่งขึ้น


นอกจากนี้กรมทรัพยากรน้ำได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาเป็นที่ปรึกษาให้โครงการฯ เพื่อศึกษาและสำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ พร้อมทั้งดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับแหล่งน้ำ เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการการสร้าง การรับรู้ การรวมรวบข้อมูลกิจกรรมการใช้น้ำ และการรับฟังข้อเสนอแนะ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยนำร่องระยะที่ 1 เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จำนวน 80 แหล่งน้ำ และในระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 46 แหล่งน้ำ รวม 126 แหล่งน้ำ คลอบคลุมพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ในพื้นที่ 17 จังหวัด
ซึ่งการจัดการประชุมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับสำนักงานทรัพยากรน้ำ มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นตัวแทนแหล่งน้ำจาก 5 แหล่งน้ำ รวม 21 ราย จากจังหวัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี และยโสธร

0000000000000000000000000000000000000000000000000000
ภาพ/ข่าว สมัย คำแก้ว ยโสธร รายงาน