รอง ผบ.ตร.เปิดอบรมการฝึกเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน บชมการสาธิตการรับมือเหตุกราดยิง (Active shooter ) ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ แผนกมัธยม

รอง ผบ.ตร.เปิดอบรมการฝึกเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน บชมการสาธิตการรับมือเหตุกราดยิง (Active shooter ) ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ แผนกมัธยม

วันนี้​ (20 ต.ค.)​ เมื่อเวลา 13.00 น.​ ที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ แผนกมัธยม​ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วยผบ.ตร. เดินทางไปรับชมการฝึกวิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ( กราดยิง )

โดยมรการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุกรณีคนร้ายยิงกราด Active shooter นั้นได้แบ่งเป็น สองส่วนคือการอบรมภาคทฤษฎี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติซึ่วแบ่งเป็น 3 ฐาน และจะแบ่งบุคลากรในการฝึกซ้อม 3 กลุ่มซึ่งมีทั้งนักเรียน ครู และบุคลากรอื่นๆให้ฝึกซ้อมร่วมกัน โดยจะสลับหมุนเวียนกันไปในแต่ละฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 การหนี ซ่อน สู้ ซึ่งจะมีการสาธิตเหตุการณ์จริงว่าเมื่อมีคนร้ายก่อเหตุยิงกราดจะมีวิธีการในการเอาตัวรอดอย่างไร ฐานที่ 2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อสร้างความรู้เบื้องต้นในการรักษาบาดแผลและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุร้าย เพื่อลดการสูญเสีย และฐานที่ 3 คือการปฏิบัติเพื่อพบ IED ระเบิด ทำให้รู้ว่าเมื่อพบวัตถุเข้าข่ายที่จะเป็นระเบิดควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า วันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มาให้ความรู้เรื่องการรับมือเหตุกราดยิงในสถานศึกษา ซึ่งเราทำเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ยังไม่ทั่วถึง พอมีเหตุเกิดที่จังหวัดหนองบัวลำภู ก็ได้มีการถอดบทเรียนแล้วว่าการลดความสูญเสียได้มากที่สุดคือการให้ความรู้กับเหยื่อ เพราะเหตุการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ถ้าหากเหตุเกิดในโรงเรียนเด็กเล็กต้องทำอย่างไร หากเกิดเหตุในห้างสรรพสินค้าต้องทำอย่างไร ซึ่ง รปภ.ต้องรู้วิธีการับมือ ซึ่งก็ได้ประสานการดำเนินงานกับบริษัท รปภ. ให้มีการฝึกอบรมและออกใบอนุญาตเกี่ยวกับกิจการรักษาความปลอดภัยโดยตำรวจ

ส่วนปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการฆาตกรรมหมู่ หรือกราดยิงนั้น(Active shooter)
มีสามอย่างคือ 1.ตัวร้ายเอง 2.สภาพสังคมที่กดดันผู้ก่อเหตุจนเกิดความเครียด และ 3.เมื่อเกิดความกดดันมากจึงทำให้เกิดความต้องการตอบโต้แบบเฉียบพลันซึ่งเป็นได้สองลักษณะคือการยิงตัวตายและการฆาตกรรม แต่ถ้าสังคมกดดันจนตัวผู้ก่อเหตุควบคุมตัวเองไม่ได้ก็จะเลือกเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบาง อย่างเช่นโรงเรียนหรือห้างสรรพสินค้าที่ผู้คนไม่ทันระวังตั้งตัว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้มีการถอดบทเรียนจากกรณีที่เกิดเหตุจากสหรัฐอเมริกกว่า 280 กรณีนำมาต่อยอดเพื่อให้ความรู้กับประชาชนต่อไป

และวันนี้จึงเดินทางมาฝึกซ้อมและให้ความรู้กันที่นี่ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือกับทาง ผกก.สน.ปทุมวัน และ ทางโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ด้วย

ทั้งนี้การมาทำการสาธิตในครั้งนี้จะมีการบันทึกภาพและเสียงทำเป็นวิดีโอเผยแพร่ และผบ.ตร.กับ รมว.ศึกษาธิการกำลังทำข้อตกลงกันเพื่อที่จะส่งครูฝึกที่เป็นตำรวจที่ได้รับการฝึกมาแล้วทุก สน. ให้ไปสอนให้กับคุณครูตามโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนทั้งประเทศมีกว่า 20,000 กว่าโรงเรียน แต่มีโรงพักแค่เพียง 1,400 กว่าโรงพัก ดังนั้นจึงไม่สามารถเข้าไปฝึกได้ทุกโรงเรียนจึงจะจัดฝึกให้กับครูแล้วให้ครูไปถ่ายทอดกับเด็กนักเรียนต่อไป โดยเน้นความเข้าใจที่ง่ายอย่างเช่น Run /Hide/ Fight คือการหลีกเลี่ยง/ หลบซ่อน /การเข้าสู้ ซึ่งสำหรับการวัดผลไม่สามารถวัดเชิงปริมาณได้ แต่ต้องวัดผลเชิงคุณภาพ นั่นคือความพึงพอใจของประชาชนว่ามีความพึงพอใจหรือไม่ที่ทางตำรวจได้เข้ามาให้ความรู้ตรงนี้ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกันช่วยเฝ้าระวัง เพราะ “การลดอาชญากรรมได้ดีที่สุดคือ การมีพี่น้องประชาชนเป็นแนวร่วมของตำรวจ”

ทางด้าน นางพรพรหม ชัยฉัตรพรสุข ผอ.โรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายมัธม กล่าวว่า
ก่อนหน้านี้ก็ได้ให้อาจารย์ในโรงเรียนให้ข้อมูลกับนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะมีการอบรมแต่ไม่ได้ตรงกับเหตุการณ์นี้เท่าไหร่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสซักซ้อมเหตุการณ์กราดยิงที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้รับทราบว่าทางตำรวจสน.ปทุมวันจะมีการให้ความรู้โดยตรงในเรื่องนี้ ซึ่งก็ขอชื่นชมทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะเป็นการให้ความรู้ที่รวดเร็วซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเนื่องจากพอมีเหตุการณ์กราดยิงเกิดขึ้นอาจมีการเลียนแบบ เพราะถ้าไม่มีการให้ความรู้ที่รวดเร็วถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกน่าจะทำให้มีการสูญเสียมากขึ้น

และถ้าพูดในมุมเด็กๆก็จะได้รับความรู้ในเบื้องต้น วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นภาพขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อเห็นแล้วก็จะได้รู้ว่าในอนาคตควรจะเตรียมตัวอย่างไร ส่วนผู้ปกครองก็น่าจะมีความสบายใจมากขึ้นเมื่อรู้ว่าลูกตนได้รับความรู้แล้ว

ทางด้านพ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผกก.สน.ปทุมวัน กล่าวว่า ในส่วนของตำรวจส่วนหนึ่ง แบะภาคประชาชนอีกส่วนหนึ่ง วันนี้อยากจะทำให้ภาคประชาชนแข็งแรง คือต้องรู้วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นก่อนที่เหตุจะไปถึงเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่จะมาถึง ซึ่งเป็นช่วงเวลาไม่นานแต่สำคัญที่สุด ซึ่งถ้าสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ และสามารถช่วยเหลือด้วยกันเองได้ก็จะช่วยลดการสูญเสียได้มากขึ้น ซึ่งนอกจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ก็ได้มีการสาธิตอีกหลายที่ อย่างที่ห้างสยามพารากอน ซึ่งจะเป็นแม่แบบของห้างใหญ่เมื่อเกิดเหตุว่าต้องทำอย่างไร

ส่วนวันนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ นำชุดใหญ่มาเพื่อที่จะให้เห็นว่าทั้ง ม.ต้น ม.ปลาย ครู รปภ.เมื่อเกิดเหตุขึ้นต้องทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.