ประชาชนผู้สนับสนุน”เมืองต้นแบบที่ 4 “ข้องใจ “สภาพัฒน์” ทำไม่ต้องใช้เวลา 3 ในการทำ “SEA” ทั้งที่งบประมาณแค่ 60 ล้าน

ประชาชนผู้สนับสนุน”เมืองต้นแบบที่ 4 “ข้องใจ “สภาพัฒน์” ทำไม่ต้องใช้เวลา 3 ในการทำ “SEA” ทั้งที่งบประมาณแค่ 60 ล้าน


นางอลิสา มานะจิต ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่เห็นด้วย และต้องการให้ รัฐบาล ผลักดัน โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ หรือ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” เพื่อการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กล่าวว่า ประชาชน ผิดหวังกับการเดินทางมา ราชการ ที่ จ.นราธิวาส ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ของ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กพต.)ที่ไม่ได้มีการ หยิบยกเอา โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” หรือ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ”เพื่อผลักดันโครงการนี้แต่อย่างใด ทั้งที่เป็นโครงการของ รัฐบาล ที่ ผลักดัน ให้เกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างครบวงจร


หลังจากที่ รัฐบาล ได้สั่งการให้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ( สสช. ) เป็นเจ้าภาพหลักในการ ดำเนินการ ขับเคลื่อนโครง” เมืองต้นแบบที่ 4 “ แห่งนี้แทน “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) การ ขับเคลื่อนโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” ของ สภาพัฒน์ฯ ก็ไม่มีความคืบหน้าที่จะแสดงให้เห็นว่า มีความต้องการให้โครงการ”เมืองต้นแบบ ที่ 4 “ เกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ นักธุรกิจ นักลงทุน ใน พื้นที่ ของว่า “สภาพัฒนฯ” กำลัง”ดองเค็ม” โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 เพื่อไม่ให้เกิดขึ้น และความล่าช้าของโครงการ จะทำให้ “เอกชน” เจ้าของโครงการ”ถอดใจ” และ ยกเลิกโครงการไปในที่สุด


นางอลิสา กล่าวว่าล่าสุด สภาพัฒน์ฯ ได้กำหนดให้ใช้เวลาในการศึกษา “SEA”เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินงบประมาณ 60 ล้านบาท แบ่งเป็นปีละ 16 ล้านบ้าง 18 ล้าน และ 26 ล้าน ทั้งที่ข้อเท็จจริง โครงการอื่นๆ ที่ใช้งบประมาณในการศึกษาผลกระทบในวงเงินระดับนี้ เขาทำกันแค่ปีเดียว ซึ่งชาวบ้านต้องการให้ สภาพัฒน์ฯ ชี้แจงรายละเอียดของการใช้เวลาถึง 3 ปี ในการทำ”SEA” ของโครงการนี้ เพราะชาวบ้าน และนักธุรกิจในพื้นที่เห็นว่า ไม่เหมาะสม และไม่เอื้ออำนวยต่อสภาวะของการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะต้องมีโครงการขนาดใหญ่ที่ครบวงจรเกิดขึ้น ทั้งเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับคนในพื้นที่


ในขณะที่ นักธุรกิจส่งออก ในพื้นที่ จ.สงขลา กล่าวว่า เราต้องการท่าเรือน้ำลีกแห่งที่ 2 ของ จ.สงขลา เพื่อการส่งออก แบบเดียวกับท่าเรือเพื่อการส่งออกสินค้าที่ท่าเรือปีนังประเทศมาเลเซีย ความล่าช้าของโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4”คือการดับฝันของผู้ส่งออก และเป็นการ เสียโอกาสของภาคใต้ในการแข่งขัน เรื่องท่าเรือน้ำลึก เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการพัฒนาภาคใต้


“เมื่อไม่กี่วัน เราเห็นข่าว ผู้นำพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ที่ค้านโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” ออกมาแสดงความคิดเห็น ชื่นชม ท่าเรือการส่งออกที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ที่สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับบ้านเมืองของเขา ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไม่นักการเมืองพรรคนั้น จึงไม่สนับสนุนให้ จ.สงขลา มีท่าเรือน้ำลึกเพื่อการส่งออกแบบที่ทันสมัยกว่าที่ปีนังประเทศมาเลเซีย เพื่อการพัฒนาประเทศของตนเองบ้าง”


ชาวบ้านใน อ.จะนะ นักลงทุน นักธุรกิจใน จ.สงขลา และคนในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน กพต. มองเห็นความสำคัญของการ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลักดันโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ อย่างจริงจัง เพราะโครงการ เล็กๆ น้อยๆ ที่ ศอ.บต. ดำเนินการอยู่ ยังไม่สามารถที่จะ ยกระดับ การพัฒนาภาคใต้ไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา