กรรมาธิการวุฒิสภา ลงพื้นที่แก้ปัญหาที่ดินเขตทับซ้อน ช้างป่าภูหลวง และการท่องเที่ยวนวัตวิถี

อ.ภูเรือ จ.เลย กรรมาธิการวุฒิสภาลงพื้นที่แก้ปัญหาที่ดิน ปัญหาช้างป่าภูหลวง และส่งเสริมการท่องเที่ยวนวัตวิถี หลังจากประชาชนเรียกร้องให้แก้ปัญหา 3 ประเด็น

เมื่อวันที่ 10 ก.ย.65 ณ วัดโพนสว่าง บ้านสำราญ หมู่ 7 ต.ท่าศาลา อ.ภูเรือ จ.เลย พลโท จเรศักดิ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภาพร้อมด้วย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ฯ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายชีวะภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ นายประสาร มฤคพิทักษ์ ที่ปรึกษาคณะฯ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาฯ คณะอนุกรรมการฯ ข้าราชการสำนักงานเลขานุการวุฒิสภากว่า 10 คน เดินทางลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกับผู้แทนหน่วยงานเกี่ยวกับ ประชาชน เกษตรกร มีนางสาวภูมารินทร์ คงเพียรธรรม นายอำเภอภูเรือ นายศุภมิตร จารุธัญลักษณ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 (ขอนแก่น) นายวันชัย สิมมาเศียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง นายจิรชัย อาคะจักร หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง และ นายธีระ ศรีบุรินทร์ กำนันตำบลท่าศาลาฯ พร้อมประชาชนเข้าร่วมเกือบ 100 คน เพื่อให้ข้อมูลชี้แจงการเรียกร้องของประชาชน

อุทยานแห่งขาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช กรมป่าไม้ ได้ทำการประกาศตั้งเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ภูหลวงขึ้นในพื้นที่อำเภอภูเรือ อ.ด่านซ้าย อ.วังสะพุง อ.ภูหลวง จ.เลย และอำเกอหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 560,593 ไร่ ซึ่งการประกาศเขตนั้นมีได้ออกสำรวจสภาพความเป็นวิวโดยรอบ แนวเขตว่ามีพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎรว่ามีอยู่ที่แปลง/ไร่ ในพื้นที่ 5 อำเภอ 2 จังหวัด โดยรอบจึงได้ประกาศทับซ้อนที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎรก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนราษฎรถูกจับในข้อหานุกรุกถูกคำเป็นคดีและเสียสิทธิ์ในการครอบครอง ที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ของราษฎรตลอดมาจนถึงปัจจุบัน คณะฯวางแนวทางแก้ไข 3 ประเด็นที่ประชาชนเรียกร้องได้แก่ แก้ปัญหาที่ดินทำกินที่ทับซ้อนกับการประกาศแนวเขตป่า ,ประเด็นช้างป่าลงมาทำลายทรัพย์สินของประชาชน และแก้ปัญหาการส่งเสริมการท่องเที่ยวนวัตวิถี

พลโท จเรศักดิ์ อานุภาพ สมาชิกวุฒิสภาฯ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ได้รับเรื่องความต้องการ 3 ประเด็น คือ เรื่องแรกปัญหาที่ดินว่าอยู่มานานมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ภูหลวง มากำหนดข้อเขตทับซ้อน ประชาชนเสียสิทธิ เสียโอกาส เราได้นำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหลายวาระจึงมีแนวทาง คือให้ได้กันพื้นที่ประชาชนออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง หากอยู่ทำกินอาศัยก่อนปี 2545 ก็เข้าทำการสำรวจและทำการรังวัดเสร็จแล้ว พร้อมรายงานไปยังส่วนกลางภายใน 30 ก.ย.65 ต่อมาตรวจสอบพิสูจน์และกันพื้นที่ออกจากเขต ตรวจสอบรังวัดเสร็จแล้ว 136,044 ไร่ในพื้นที่อำเภอภูเรือ อ.ด่านซ้าย อ.วังสะพุง อ.ภูหลวง จ.เลย และอำเกอหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เข้าสู่กฤษฎีกาต่อไป หากประชาชนเข้าทำกินและอาศัยระหว่างช่วงปี 2545-2557 ก็ได้นำเข้าขบวนปฏิรูปที่ดิน (คทช.) แล้ว ส่วนทำกินหลังปี 2557 ก็ต้องนำสู่ขบวนการด้านกฎหมายต่อไปเพราะถือว่าบุกรุกพื้นที่ใหม่

เรื่องต่อมาช้างป่าลงมาทำลายพืชไร่ประชาชนทำไงก็ให้อยู่ร่วมกันให้ได้ระหว่างช้างป่ากับประชาชน เพราะปัจจุบันทราบว่ามีช้างป่าจำนวน 186 ตัว โดยป่าภูหลวงสามารถรองรับได้ 223 ตัว หากจะให้อยู่แออัดก็ 244 ตัว ลงมาหากินนอกเขตเฉลี่ย 8 กม. เช่น ใช้ปลูกไม้ยืนต้น ปลูกไผ่หนาม หรือสร้างกำแพงปูนกั้นเขตแดน

ประเด็นสุดท้าย คือการท่องเที่ยวนวัตวิถี เพื่อยกระดับรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ เดิมนั้นมีปัญหาเพราะเข้าไปในเขตฯ เรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เกรงจะได้รับอันตรายจากสัตว์ป่า จึงต้องจัดประชุมร่วมกันเพื่อสร้างรายได้แก่ประชาชนและได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ผลที่จะได้รับจากการแก้ปัญหานี้ คือ ทำให้ราษฎรได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของตนเองโดยมีเอกสารสิทธิ์สืบต่อไปจนถึงลูกถึงหลาน รัฐบาลและราษฎรจะมีแนวเขตที่ซัดเขนง่ายต่อการทำงานของ เจ้าหน้าที่ในการรักษาป่า รัฐบาลจะได้พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นตามนโยบาย 40% ของพื้นที่ของประเทศ ราษฎรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง คณะกรรมการมีราษฎรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนผู้ประสบปัญหาที่แท้จริงไป แก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินและที่อยู่อาศัยได้ตรงจุดและราษฎรผู้ที่ไม่รู้กฎหมายจะได้รับความเป็นธรรมในการครอบครองที่ดิน อีกด้วย

บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย