เมื่อ”สภาพัฒน์ฯ ทำตัวแบบ”มีธง”ในการ”ขับเคลื่อน”โครงการ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” นอกจาก”เอ็นจีโอ” แล้ว ใครคือ”ไอ้โม่ง” ที่อยู่ เบื้องหลัง และ รักษาการ”นายกรัฐมนตรี” จะ แก้ปัญหานี้อย่างไร

เมื่อ”สภาพัฒน์ฯ ทำตัวแบบ”มีธง”ในการ”ขับเคลื่อน”โครงการ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” นอกจาก”เอ็นจีโอ” แล้ว ใครคือ”ไอ้โม่ง” ที่อยู่ เบื้องหลัง และ รักษาการ”นายกรัฐมนตรี” จะ แก้ปัญหานี้อย่างไร

 


การลงพื้นที่ของ เจ้าหน้าที่จาก สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.)โดยส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพื่อดำเนินการ”ขับเคลื่อน” โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ หรือ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” ซึ่งเป็น โครงการการสร้างเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่เป็นการลงทุนของ”เอกชน” โดยการ”สนับสนุน” ของ รัฐบาล ที่มี วัตถุประสงค์ เพื่อการ “พัฒนา” จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญ เป็น”เกตเวย์” หรือ”ท่าเรือ” เพื่อการส่งออกที่เป็น”ประตู”ที่ 3 ของประทศสู่โลกภายนอก เพื่อการ “แข่งขัน” กับนานาประเทศ ที่เป็น”คู่แข่ง” ของประเทศไทย


ซึ่งการเริ่มเข้ามา”ขับเคลื่อน” โครงการ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” โดยการที่ “สสช. ส่ง เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาระดับยุทธศาสตร์ หรือ “SEA “ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ได้สร้างความ”ดีใจ” กับคนส่วนใหญ่ของ อ.จะนะ ไม่เฉพาะแต่คนในพื้นที่ 3 ตำบล คือ นาทับ,สะกอม,และ ตลิ่งชัน ที่เป็นพื้นที่ตั้งของโครงการ เพราะคนทั้ง อ.จะนะ เชื่อว่า ถ้าโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “หรือ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” เกิดขึ้นได้จริง ต้องส่งผลถึงผู้คนใน หลายสาขาอาชีพ ของคน”จะนะ”แ ละใกล้เคียงด้วย


แต่…ประชาชนที่ ต้องการเห็นการเกิดขึ้นของ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” เริ่มไม่แน่ใจว่าการลงพื้นที่ของ “เจ้าหน้าที่ชุดนี้จาก”สภาพัฒน์” เพื่อทำเรื่อง” SEA” จะเป็นการมาเพื่อการ”ขับเคลื่อน” ให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพื่อการ พัฒนาภาคใต้ หรือมาเพื่อการทำ “SEA” เพื่อให้หยุดโครงการดังกล่าวกันแน่
เพราะกลุ่มประชาชนที่ สนับสนุนโครงการ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” พบความไม่”ชอบมาพากล”ที่เกิดขึ้นจาก เจ้าหน้าที่ ผู้ทำหน้าที่ จัดทำรายงานการศึกษาระดับยุทธศาสตร์ ที่มีความ”ไม่เป็นกลาง” ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนโครงการ ในการ พบปะ พูดคุย เพื่อรับฟัง ข้อมูล ความเห็น ของฝ่ายที่ สนับสนุน แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนที่สนับสนุนโครงการ พบว่า เจ้าหน้าที่ จาก “สภาพัฒน์” ให้ความสำคัญ กับ กลุ่มคน”ส่วนน้อย” ที่มี “เอ็นจีโอ” ทั้งที่อยู่ใน”เครื่องแบบ” ของ “ข้าราชการ”ที่เป็นฎ”เอ็นจีโอ” และ อื่นๆ ให้การ”หนุนหลัง” ในการ “คัดค้าน”โครงการดังกล่าว


มี”เอ็นจีโอ” และ “ข้าราชการ” ที่เป็น”เอ็นจีโอ” เป็นผู้จัดทำ แผน เพื่อให้ เจ้าหน้าที่จาก”สภาพัฒน์” ในการ พบกับกลุ่มผู้คัดค้าน เพื่อการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งมี “เอ็นจีโอ” เป็นผู้ จัดทำให้ โดยอาศัย หลัก”วิชาการ” ซึ่ง ประชาชนที่ไม่อยู่ใน”เครือข่าย” ของ”เอ็นจีโอ” ทำไม่เป็น จนกลายเป็น”จุดได้เปรียบ” และ”เสียเปรียบ” ที่กำลังเกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่”สภาพัฒน์ฯ” ในครั้งนี้
ล่าสุด ฝากฝั่ง ประชาชน ผู้ สนับสนุนโครงการ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” มีการ “เคลื่อนไหว” เพื่อ”ต่อต้าน” ความ”ไม่ชอบมาพากล” ของการจัดทำ SEA ในครั้งนี้ ด้วยการเดินทางมายื่นหนังสือกับ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา และยื่นหนังสือกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อร้องเรียนถึง “พฤติกรรม” ของ เจ้าหน้าที่จาก”สภาพัฒนฯ” ไปยัง เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ และ นายกรัฐมนตรี เพราะ สิ่งที่เกิดขึ้น มีความไม่เป็นธรรมกับ ประชาชน กลุ่มที่ให้การ สนับสนุนโครงการ และต้องการเห็นการ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ปัญหา เศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานของคนในพื้นที่ และ บุตร หลาน ที่จบการศึกษาแล้ว “ตกงาน” เป็นจำนวนมาก เพราะในพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง ไม่มีการพัฒนาในโครงการ”อุตสาหกรรม”ขนาดใหญ่ไว้รองรับ


นางมณี อนันทบริพงษ์ แกนนำประชาชน ที่สนับสนุน ให้เกิด”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” กล่าวว่า พฤติกรรม” และ วิธีการของ เจ้าหน้าที่จาก “สภาพัฒนฯ” ที่ ลงมาเพื่อทำ “SEA “ครั้งนี้ ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ไม่ครอบคลุมกลุ่มคนในทุก สาขาอาชีพ มีการ เน้นใน กลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านที่เป็น”คัดค้าน โครงการนี้ตั้งแต่ต้น แต่ ละเลยกลุ่ม อื่นๆ ทั้งหมด การลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ มีผู้นำที่”คัดค้าน”โครงการเป็นผู้ กำหนด “เส้นทาง” กำหนดจุด”นัดหมาย” ที่ชัดเจน เพื่อ “ชี้นำ “ในการให้ ข้อมูล ซึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ใน 3 ตำบลรับไม่ได้ จึงต้องมาร้องเรียน ให้ ผู้บริการของ”สภาพัฒน์ฯ และ รัฐบาล ได้รับทราบ เพราะ พฤติกรรม ที่เกิดขึ้น เหมือน เจ้าหน้าที่”มีธง” ล่วงหน้า ว่าต้องการให้ ผลของรายงานออกมาในฝั่งไหน
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา สำหรับโครงการ “เมืองต้นแบบที่ 4” อ.จะนะ หรือ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” ที่ชักจะมองเห็นแล้วว่า นอกจากจะมี”แรงต้าน” จาก”เอ็นจีโอ” ที่ ต้านทุกเรื่องที่เกิดขึ้นใน จ.สงขลา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมี “กลุ่มทุน” นอกพื้นที่ อีก กลุ่มหนึ่ง ที่มี “อิทธิพล”ในวงการ”อุตสากรรม” ที่เข้ามา”ขัดขวาง” เพื่อมิให้ โครงการนี้ “เดินหน้า” เพราะหาก”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” มีความ”สำเร็จ” อาจจะกระทบกับ โครงการของ กลุ่มทุน กลุ่มนี้นั่นเอง


รัฐบาล จะดำเนินการอย่างไรกับความ”ไม่ชอบมาพากล” ที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่ กลุ่มประชาชน ที่ออกมา กล่าวหา เจ้าหน้าที่จาก “สภาพัฒนฯ” รัฐบาล ต้องมีการสั่งให้ “สภาพัฒน์” หรือ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” ตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะว่าการจัดทำ”SEA” เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆของโครงการ ถ้ามีความ”ไม่ชอบมาพากล” มีความ”ลำเอียง” มี” เบื้องหน้าเบื้องหลัง”ตั้งแต่เริ่มต้น ก็เหมือกับการ”ใส่เสื้อ” ที่ “กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด” ผลการรายงานที่ออกมา ก็จะ”ผิดพลาด” ที่เป็นความเสียหายต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทำให้”เสียโอกาส” ของคนในพื้นที่
เรื่องนี้ รักษาการนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กพต.) พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ต้อง เร่งใช้โอกาสในการ “รักษาการ” นายกรัฐมนตรี สั่งให้มีการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงของการทำหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ “สภาพัฒนฯ” ที่ลงพื้นที่ในการทำ SEA โดยเร็ว เพื่อให้มีความ”ถูกต้อง” และ”เป็นธรรม” กับ ทุกฝ่าย

 

เมือง ไม้ขม
รายงานพิเศษ